28.9.55

สัปดาห์ที่16



วันที่ 28 กันยายน 2555


อาจารย์ให้หัวข้อในการฝึกคิดวิเคราะห์
เรื่อง Tablet กับเด็ก ป.1



       ข้อมูลจาก ubuntuclub.com ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวรายละเอียดบางส่วน ที่จะลงเป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับเด็ก ป.1 ในโครงการ One Tablet PC Per Child ของรัฐบาล โดยผ่านเครื่องของ Scopad ซึ่งเป็นเครื่องที่มีสเปคใกล้เคียงกับ Tablet ตัวจริงที่รัฐบาลจะแจกให้กับเด็ก ป.1 ในปีการศึกษาอีกไม่นานจากนี้ ซึ่งด้านในเป็นตัวอย่างสื่อการเรียนรู้ที่จะลงให้กับเด็ก ๆ แบ่งออกเป็นหลายหัวข้อด้วยกัน เช่น อีเลินนิ่ง ห้องสมุด มัลติมีเดีย คลังข้อสอบ เป็นต้น ซึ่งสามารถดูได้จากคลิปด้านล่างนี้





Tablet กับเด็ก ป.1
                หลังจากที่รัฐบาลออกมาประกาศว่าจะแจก Tablet ให้กับเด็กป.1 ซึ่งหลายฝ่ายก็สนับสนุนเพราะเห็นว่าเราควรปลูกฝังเรื่องเทคโนโลยีให้เด็กตั้งแต่ตอนนี้ จะทำให้เด็กมีความรู้เรื่องเทคโนโลยีได้ไม่แพ้กับชาติอื่นๆ แต่หลายฝ่ายก็ไม่สนับสนุน เพราะเห็นว่า เด็กป.1 ยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าควรจะใช้อย่างไร และยังไม่จำเป็นต้องใช้ ในความคิดเห็นของดิฉันคิดว่า Tablet มีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากจะแจก Tablet ให้กับเด็กป.1จริงๆ ก็ควรบอกวิธีการใช้ให้เกิดประโยชน์ และบอกโทษต่างๆ เมื่อใช้ Tablet ก็จะทำให้เด็กได้รับความรู้อย่างเต็มที่และเกิดประโยชน์ แต่หากแจกให้กับเด็กป.1เพียงชั้นเรียนเดียว จะไม่เกิดความยุติธรรม เพราะเด็กในชั้นเรียนอื่นๆ อาจจำเป็นต้องใช้มากกว่าเด็กป.1

อ้างอิง :: Lukwanuch





ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนการสอนในสัปดาห์นี้
                ได้เรียนรู้ถึงหลักการในการคิดวิเคราะห์ว่า ในการที่เราจะวิเคราะห์สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราควรที่จะตั้งจุดประสงค์ว่าจะวิเคราะห์เรื่องอะไร แล้วควรที่จะวิเคราะห์ในหลายๆด้านโดยในการเขียนวิเคราะห์ควรที่จะบรรยายเป็นเชิงวิภาคไม่ใช่เชิงวิจารณ์ นอกจากนี้ความที่จะบอกถึง ผลดี ผลเสีย ผลกระทบ หรือข้อบกพร่องอะไร ฯลฯ และแนะแนวทางแก้ไขหรือแสดงความคิดเห็นที่เหมาะสม



22.9.55

สืบค้นงานวิจัย



สืบค้นงานวิจัย
เรื่องพัฒนาความสามารถทางภาษา
ของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปะด้วยนิ้วมือ



                 วรางคณา กันประชา. การพัฒนาความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปะด้วยนิ้วมือ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยง, 2551


สามารถดาวโหลดงานวิจัยมาศึกษาได้ คลิกที่นี่ 




สืบค้นจาก :: http://www.thailis.or.th/tdc/


21.9.55

สัปดาที่15


วันที่ 21 กันยายน 2555


อาจารย์สรุปการเรียนรู้
ที่นักศึกษาจะได้รับจากการทำบล็อก



ความหมายของการคิด
                ฮิลการ์ด (Hilgard ) กล่าวว่า การคิดเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสมองอันเนื่องมาจากการใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งของ เหตุการณ์หรือ สถานการณ์ ต่าง ๆ บรูโน (Bruno ) กล่าวว่า การคิดเป็นกระบวนการทางสมองที่ใช้สัญลักษณ์จินตภาพ ความคิดเห็น และความคิด รวบยอด แทนประสบการณ์ในอดีต ความเป็นไปได้ในอนาคต และความเป็นจริงที่ปรากฏ การคิดจึงทำให้คนเรา มีกระบวนการ ทางสมองในระดับสูง กระบวนการเหล่านี้ได้แก่ ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา จินตนาการ ความใส่ใจ เชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และอื่นๆ มากาเรต ดับบลิว แมทลิน (Matlin ) กล่าวว่า การคิดเป็นกิจกรรมทางสมอง เป็นกระบวนการทางปัญญา ซึ่งประกอบด้วย การสัมผัส การรับรู้ การรวบรวม การจำ การรื้อฟื้นข้อมูลเก่าหรือประสบการณ์ โดยที่บุคคลนำข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เก็บไว้เป็นระบบ การคิดเป็นการจัด รูปแบบของข้อมูลข่าวสารใหม่กับข้อมูลเก่า ผลจากการจัดสามารถแสดงออกมาภายนอกให้ผู้อื่นรับรู้ได้

                อาจสรุปได้ว่าการคิดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมองที่ใช้สัญลักษณ์หรือภาพแทนสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมี การจัดระบบความรู้ ข้อมูล ข่าวสารซึ่งเป็นประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งเร้าใหม่ ที่ไปได้ ทั้งใน รูปแบบ ธรรมดาและ สลับซับซ้อน ผลจากการจัดระบบสามารถ แสดงออกได้หลายลักษณะ เช่น การให้เหตุผลการแก้ปัญหาต่าง ๆ เนื่องจากการคิดเป็น กระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง เราจึงควรที่จะทราบเกี่ยวกับสมอง เช่นโครงสร้างทางสมอง และพิจารณาว่ามีความสัมพันธ์กับ การคิดในลักษณะใดบ้าง


อ้างอิง :: novabizz.com



14.9.55

สัปดาห์ที่14

วันที่ 14 กันยายน 2555


จัดกิจกรรมการเล่านิทาน





อาจารย์ได้แบ่งการเล่านิทานออกเป็นหลายๆรูปแบบดีงนี้
 1.             เล่าไปพับไป
         2.             เล่าไปฉีกไป
         3.             เล่าไปตัดไป
         4.             เล่าไปวาดไป
         5.             เล่าโดยใช้เชือก
        กลุ่มของดิฉันได้จัดกิจกรรมเล่านิทาน เล่าฉีกไปเรื่องช้างมีน้ำใจ 



ประโยชน์ที่ได้รับ

                ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเล่านิทานว่าการเล่านิทานไม่ใช้เพียงแค่การเล่าจากหนังสือนิทาน เราสามารถมีอุปกรณ์อื่นๆมาช่วงในการเล่า เพื่อความแปลกใหม่และดึงดูดความสนใจของเด็กได้ดี และการเล่านิทานในรูปแบบต่างๆนี้เด็กยังสามารถมีส่วนร่วม ได้ลงมือทำในขณะที่นั่งฟังนิทานไปอีกด้วย การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่ได้รับความรู้ดีมากคะ

9.9.55

อบรมการเล่านิทาน




อบรมการเล่านิทาน




            การเล่านิทาน   มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟัง   ฝึกผู้ฟังให้มีจินตนาการไปตามเรื่องที่ฟัง  การสอดแทรกข้อคิด คติธรรม หรือเรื่องราวใด ๆ แฝงเข้าไปในเรื่อง จะทำให้ผู้ฟังซึมซับไปโดยไม่รู้ตัว  การเล่านิทานจึงเป็นกิจกรรมที่เด็ก ๆ ชื่นชอบมาก จึงเป็นการกระตุ้นเร้าให้เด็กรักการอ่าน และเป็นการปลูกฝังความรัก  ความซาบซึ้งในวรรณกรรมและวรรณคดีต่าง ๆ     ในปัจจุบันครูและบรรณารักษ์จึงใช้การเล่านิทานเป็นกิจกรรมประกอบการสอนและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน แต่การเล่านิทานที่จะสร้างความเพลิดเพลินหรือความประทับใจในเรื่องให้ผู้ฟังติดตามเรื่องไปจนจบอย่างไม่รู้เบื่อนั้น ผู้เล่าจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเล่านิทานและเทคนิคในการเล่าอย่างเหมาะสม

เทคนิคการเล่านิทาน
                การเล่านิทานไม่ว่า จะเล่าในรูปแบบใด ผู้เล่าจำเป็นจะต้องใช้ศิลป์หรือเทคนิคในการเล่าเพื่อดึงดูดความสนใจ หรือสร้างความสนุกสนานกับผู้ฟัง ดังนี้

1.  เลือกนิทาน/เลือกเรื่อง
                การเลือกนิทานควรเลือกให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง ทั้งด้านจำนวน วัย และเพศ ทั้งนี้เพราะผู้ฟังแต่ละวัย (แต่ละกลุ่ม) จะมีความสนใจในเรื่องที่ฟังต่าง ๆ กัน ระยะเวลา (ช่วงความสนใจสั้น-ยาว) ต่างกัน การรับรู้เรื่องราวที่มีความซับซ้อน หรือมีการใช้คำศัพท์ที่ยากง่ายต่างกัน  นอกจากนี้ความรู้หรือข้อคิดที่ได้จะแตกต่างกันไปตามเนื้อเรื่องของนิทานที่จะนำมาเล่าด้วย  ด้วยเหตุนี้การเลือกเรื่อง/เลือกนิทานที่จะนำมาเล่าจึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก
                การเลือกเรื่องที่สนุก ตื่นเต้น เร้าใจหรือเรื่องขำขัน จะสร้างความพอใจให้กับผู้ฟัง และผู้เล่าด้วย เรื่องที่ควรหลีกเลี่ยงคือเรื่องที่หวาดเสียว  หยาบโลน เข้าใจยาก อืดอาดและไม่สร้างสรรค์     นอกจากนี้การเลือกเรื่องจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับวิธีการเล่า ตลอดจนความพร้อม ความสามารถ หรือความถนัดของผู้เล่าด้วย

2 . ฝึกฝน ความแม่นยำในเรื่องที่จะเล่า
                แม้ว่าการเล่านิทานจะไม่จำเป็นต้องท่องจำถ้อยคำต่าง ๆ ทุกถ้อยคำในนิทานจนขึ้นใจ แต่จำเป็นจะต้องจำเกี่ยวกับการลำดับเรื่อง อารมณ์ของเรื่อง และใจความสำคัญของเรื่อง เพื่อให้สามารถเล่าเรื่องได้อย่างต่อเนื่อง     ในกรณีที่ผู้เล่าไม่มีเวลาท่องจำเรื่องราวสำคัญ อาจใช้บัตรบันทึกคำสำคัญเพื่อเตือนความจำก็ได้ 

3.  การใช้เสียงและท่าทางประกอบการเล่านิทาน
                การเล่านิทานควรใช้เสียงที่เป็นธรรมชาติ มีชีวิต ชีวา (ไม่แผ่วเบา แหลมแปร๋น  สั่นเครือ รัวเร็วจนฟังไม่ทัน หรือช้าเนิบนาบจนน่าเบื่อเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจในการเล่า การเปลี่ยนเสียงตามตัวละครแต่ละตัวไม่ใช่สิ่งจำเป็น  แต่ถ้าผู้เล่าคนใดสามารถทำได้โดยไม่ขัดเขินก็จะนำนิทานเรื่องนั้นสนุกสนานมากยิ่งขึ้น  การใช้สีหน้า แววตา ประกอบอารมณ์ตามเหตุการณ์ ควรเป็นไปตามธรรมชาติ ในบางครั้งอาจใช้มือ การเน้นเสียง หรือทำตาลุกวาว ประกอบเรื่องที่ตื่นเต้นได้บ้างแต่ไม่ควรให้มากเกินไป

4.   การฝึกซ้อม
                  เพื่อความแม่นยำในเรื่องที่เล่า  การใช้น้ำเสียง ภาษา ท่าทางหรือการใช้อุปกรณ์ประกอบอย่างไม่ขัดเขิน  ผู้เล่าควรมีการฝึกซ้อมการเล่าให้คล่องแคล่ว


อ้างอิง :: home.kku.ac.th

7.9.55

สัปดาห์ที่13

วันที่ 7 กันยายน 2555

การบูรณาการ
ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม




                การบูรณาการถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งของการสอน รวมทั้งเป็นปรัชญาในการสอนที่นำเนื้อหาความรู้จากหลายวิชามาสัมพันธ์ที่จุดเดียวกัน (Focus) หรือหัวเรื่อง (Theme) เดียวกัน (วลัย พานิช, 2546: 44) ทั้งนี้ วรนาท รักสกุลไทย (2548: [6-8]) ได้สรุปความหมายของการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการไว้ว่าเป็นการจัดประสบการณ์ที่นำความรู้ ความคิดรวบยอด ทักษะ และประสบการณ์สำคัญทั้งมวลที่ผู้เรียนจะได้รับในสาระการเรียนรู้ต่างๆ มาเชื่อมโยงผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างมีความหมาย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ซึ่งเป็นการขจัดความซ้ำซ้อน ความไม่สัมพันธ์ และความไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระดับปฐมวัยศึกษา ซึ่งเน้นการพัฒนาโดยองค์รวม

        เมื่อพิจารณาความหมายของการบูรณาการจะเห็นได้ว่าความรู้ ความคิด และประสบการณ์สำคัญต่างๆ นั้นต่างมีความสัมพันธ์กัน และหน่วยย่อยที่สัมพันธ์กันเหล่านี้เกิดการผสมผสานหลอมรวมจนเกิดเอกลักษณ์ใหม่ที่มีความเป็นหนึ่งเดียว


        การจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยยึดหลักการบูรณาการที่ว่า หนึ่งแนวคิดเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายกิจกรรม หนึ่งกิจกรรมสามารถเรียนรู้ได้หลายทักษะและหลายประสบการณ์สำคัญ (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2547: 6) การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ครูจึงควรศึกษาก่อนว่าทักษะ สาระการเรียนรู้ หรือประสบการณ์สำคัญใดที่จะจัดให้กับเด็ก แล้วจึงวางแผนการจัดกิจกรรมต่อไป

        ผู้เขียนขอเสนอตัวอย่างหนึ่งของการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการผ่านหัวเรื่อง "ปีเตอร์แพน" ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เด็กๆ ให้ความสนใจ ดังนี้


        ที่ชั้นอนุบาล 2/1 โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ เด็กๆ ต่างชื่นชอบที่จะฟังนิทานเรื่องปีเตอร์แพน และจะขอให้ครูอ่านนิทานเรื่องนี้ให้ฟังอย่างต่อเนื่อง ครูจึงนำเรื่อง "ปีเตอร์แพน" มาเป็นหัวเรื่องในการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการโดยยึดตามกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมบูรณาการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของการจัดประสบการณ์ในระดับปฐมวัย ได้แก่ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมเกมการศึกษา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
        เด็กๆ ได้ร้องเพลง คิดท่าประกอบเพลง ทำท่าประกอบเพลง ซึ่งเพลงที่นำมาใช้ประกอบ ด้วยเพลงเหาะไปบนฟ้า และเพลงปีเตอร์แพน ได้แปลงร่างเป็นตัวละครต่างๆ ในเรื่องปีเตอร์แพน และเคลื่อนไหวประกอบจังหวะตามลักษณะสำคัญของตัวละคร และได้ทำกิจกรรมตามผู้นำ (ผู้นำ
ผู้ตาม) โดยดัดแปลงมาจากตอนที่ตัวละครในเรื่องออกไปตามพวกอินเดียนแดง ฯลฯ

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
        เด็กๆ ได้เล่นสมมติจากสถานการณ์ในเรื่อง เช่น ตอนทิงเกอร์เบลอิจฉาเวนดี้ เพื่อนำไปสู่การอภิปรายเรื่องการจัดการกับอารมณ์อย่างเหมาะสม หรือตอนเวนดี้ไม่ยอมเป็นพวกโจรสลัด เพื่อนำไปสู่การอภิปรายเรื่องการปฏิเสธที่จะทำผิดตามที่ผู้อื่นสั่งให้ทำ ได้เล่นสมมติเป็นอินเดียนแดงทดลองทำสิ่งต่างๆ ร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องความสามัคคี นอกจากนี้ยังมีการเล่นละครสร้างสรรค์ 5 ฉากสำคัญ คือ เหาะไปบนฟ้า ตามผู้นำ ช่วยไทเกอร์ลิลลี่ ที่ซ่อนของปีเตอร์แพน และกลับบ้านกันโดยเด็กๆ จะต้องแบ่งหน้าที่กันทำ ด้นสดบทละคร และแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ฯลฯ

กิจกรรมสร้างสรรค์
        เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมที่ให้เด็กเลือกทำเป็นรายบุคคล ได้แก่ พับหมวกปีเตอร์แพน ดัดลวดเพื่อทำปีกทิงเกอร์เบล วาดนางเงือก และตัดเพื่อนำไปไว้ที่ทะเลสาบนางเงือก พับจระเข้ตัวเล็ก ตัดรูปมือระบายสีเพื่อทำสายรุ้ง ตัดรูปดาวและปั๊มสีเพื่อทำดาวที่ลอนดอนยามค่ำคืน และทำสายคาดศีรษะของอินเดียนแดง ฯลฯ และได้ทำกิจกรรมศิลปะแบบร่วมมือ ได้แก่ การสร้างเนเวอร์แลนด์ซึ่งต้องทำดวงอาทิตย์ ก้อนเมฆ เรือโจรสลัด หินรูปหัวกะโหลก จระเข้ตัวใหญ่ และการสร้างลอนดอนซึ่งต้องทำภาพเมืองลอนดอนและหอนาฬิกา ฯลฯ

กิจกรรมเสรี
        เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องแสงและเงาผ่านการทำกิจกรรมวาดเงาของตัวละคร เรียนรู้ประโยชน์ของแสงจากการส่องไฟฉายหาตัวละครในกล่องปริศนา ได้เรียนรู้เรื่องเสียงผ่านการทำกลองของอินเดียนแดง ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสสารผ่านการทำแพนเค้กรูปหน้าตัวละคร ได้เรียนรู้ภาษาผ่านตัวอักษรล่องหนของอินเดียนแดง ฯลฯ โดยครูจัดกิจกรรมเหล่านี้ตามความคิดของเด็กไว้เป็นตัวเลือกหนึ่งในกิจกรรมเสรี

กิจกรรมกลางแจ้ง
        เด็กๆ ได้เล่นเดินเป็นแถวตามจังหวะมาร์ช โดยร้องเพลงตามผู้นำไปในที่ต่างๆ ในโรงเรียน โดยเล่นสมมติเป็นพวกอินเดียนแดง เด็กๆ เล่นเครื่องเล่นสนามโดยสมมติว่าเครื่องเล่นแต่ละอย่างเป็นสถานที่ต่างๆ ในเรื่องปีเตอร์แพน ฯลฯ

กิจกรรมเกมการศึกษา
        เด็กๆ ได้เล่นเกมจับคู่คำศัพท์ทั้งคำศัพท์เกี่ยวกับฉาก และตัวละคร ในหลายๆ ลักษณะ เช่น ทอยลูกเต๋าแล้วหาบัตรคำศัพท์ นำบัตรคำศัพท์ไปวางคู่กับสิ่งของจริงๆ ที่เด็กสร้างขึ้นในห้องเรียน รวมทั้งเกมอื่นๆ เช่น ลากเส้นหาทางออกให้ทิงเกอร์เบล ฯลฯ


        กิจกรรมต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นซึ่งให้เด็กได้ร้องและทำท่าทางประกอบเพลง เล่นสมมุติ เล่นละครสร้างสรรค์ สนทนาร่วมกัน ทดลอง สร้าง วาด พับ ทำศิลปะแบบร่วมมือ เล่นเกม หรือประกอบอาหาร ล้วนเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กกระตือรือร้นใฝ่รู้ใฝ่เรียน และเกิดแรงจูงใจในการเรียน เด็กได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ครบทุกด้าน รวมทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไป เด็กมีส่วนร่วมในการกำหนดการเรียนรู้ของตนด้วยการเลือกทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจ และความสามารถของตน ช่วยเกิดการพัฒนาแบบองค์รวม ทั้งสาระการเรียนรู้ ทักษะ และประสบการณ์สำคัญ ช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการจำและการแก้ปัญหา และช่วยให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

        อย่างไรก็ตามครูควรตระหนักถึงหลักสำคัญของการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ กล่าวคือความสอดคล้องเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสาระการเรียนรู้และทักษะต่างๆ

        การที่เด็กได้เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมที่หลากหลายช่วยให้เกิดการตกผลึกทางความคิด และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ความรู้ที่ได้ไม่ลบเลือนไปโดยง่าย การนำสาระการเรียนรู้และทักษะต่างๆ ที่ต้องการให้เด็กฝึกฝนมาเชื่อมโยงไว้ในการสอน การใช้แหล่งเรียนรู้รอบตัว สื่อมีความหลากหลายมีความเพียงพอกับความต้องการของเด็ก และการจัดกิจกรรมที่มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับกลุ่มเด็กและสภาพแวดล้อม โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์แก่เด็กมากที่สุด



อ้างอิง :: ห้องเรียนครูเหมียว



_._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._


อาจารย์นำสีและแผ่นประดิษฐ์ตัวอักษร
มาแจกให้นักศึกษา เพื่อเป็นกำลังใจในการทำสื่อการเรียน



ขอขอบพระคุณอาจารย์จินตนามากคะ ^^

6.9.55

คุณภาพการศึกษาไทย ก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน


วันที่ 6 กันยายน 2555

โครงการศึกษาศาสตร์
คุณภาพการศึกษาไทย ก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน
ร่วมฉลองวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ครบรอบ 72 ปี
วันที่ 6 – 7 กันยายน 2555
คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

28.8.55

สื่อปฏิทิน

วันที่ 28 สิงหาคม 2555

สื่อปฏิทิน





ประโยชน์ที่ได้รับและข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
                คือการจัดทำสื่อให้น่าสนใจ น่าติดตาม เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตจะต้องออกแบบและอาศัยความรู้ความชำนาญด้านศิลปะเข้ามาช่วยในการจัดทำให้หัวข้อย่อยหรือโครงสร้างข้อมูลที่กำหนดไว้นั้นเป็นรูปเป็นร่าง มีรูปแบบที่สวยงาม สามารถสื่อความหมายได้เหมาะสมกับเนื้อหา รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นเทคนิคต่าง ๆ ที่ทำให้สื่อที่ผลิตนั้น .สะดวกต่อการใช้ ง่ายต่อการเข้าใจ. จะทำให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่า และมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี 

การออกแบบสื่อ

                องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย


สื่อการสอน
                คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา 


วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
                เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกันระบบการการเรียนการสอนระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ


1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน

2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี

4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน ดังกล่าว แสดงได้ดังนี้



การสร้างแบบจำลองและการออกแบบสื่อการเรียนการสอน ตามประเภท

            1. แบบจำลองเชิงนามธรรม เชิงแนวคิด หรือแบบจำลองที่เป็นซอฟต์แวร์ เช่น แบบจำลองคณิตศาสตร์ แบบจำลองวิทยาศาสตร์ แบบจำลองคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีการสร้างแบบจำลอง แบบจำลองความคิด เป็นต้น แบบจำลองเชิงนามธรรม หรือแบบจำลองเชิงแนวคิด เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเชิงทฤษฎีเพื่อแทนกระบวนการเชิงสังคม เชิงชีววิทยา หรือ เชิงฟิสิกส์ ด้วยเซตของตัวแปรและเซตของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านั้นทั้งเชิงตรรก และ เชิงปริมาณ แบบจำลองจะถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงเหตุผลภายในกรอบงานเชิงตรรกในอุมดมคติของกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่อทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์โดยแบบจำลองเป็นสิ่งที่ทำให้สมมติฐานต่าง ๆชัดแจ้งขึ้น ว่าถูกหรือผิดในรายละเอียด

           2.แบบจำลองที่เป็นรูปธรรม ใช้แทนวัตถุได้ เช่น ตัวแบบ แบบจำลองสามมิติ บ้านจำลอง รถจำลอง แบบจำลองในเกม เป็นต้น


อ้างอิง :: อภิชิต ศิริวงษ์

การอบรมสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษสี


วันที่ 28 สิงหาคา 2555


การอบรมสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษสี




ประโยชน์ที่ได้รับ

ays" allowfullscreen="true" width="480" height="360">
                ได้รู้เกี่ยวกับวิธีการตัดดอกไม้เป็นรูปร่างต่างๆ และวิธีการจัดดอกไม้กระดาษให้เป็นช่องสวยงามจะต้องใช้ไม้บรรทัดหรือกรรไกค่อยๆดัด เพื่อที่จะได้กรีบดอกหรือใบที่สวยงาม หากมีการจัดบอร์ดดิฉันสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการตกแต่งประดิษฐ์ดอกไม้ได้เอง ถือว่าเป็นการจัดอบรมที่ดีมากเลยคะ

24.8.55

สัปดาห์ที่11


วันที่ 24 สิงหาคม 2555


อาจารย์สอนเรื่อง
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด




เรื่องย่อ
       
  อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร




แนวคิดสำคัญ

แม้ว่าเด็กๆ จะแตกต่างจากคนอื่น เด็กๆ ก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้
 การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดีที่เด็กๆ ควรปฏิบัติอยู่เสมอ


  เด็กๆ ควรขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ




นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
                ทุกๆคนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งด้านร่างกายและจิตใจ หากแต่เพียงเรารู้ตัวว่าเราทำดี คิดดี และรู้จักพอใจ ภูมิใจในตนเองแล้วหละก็ คนอื่นย่อมเห็นถึงความดีและยอมรับในตัวเรา


_._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._


เพลงเกาะสมุย
อาจารย์ให้นักศึกษาฟังและจับใจความจากเพลง





การจับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟัง และการดูสื่อต่างๆ


                การฟังและการดู เป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญในการติดต่อสื่อสาร โดยการรับสารจากบุคคลหรือสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น


ปัจจัยที่ทำให้การฟังและการดูมีประสิทธิภาพ มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้


๑.  ความสนใจในการรับสาร หากมีความสนใจที่จะรับสารก็จะสามารถรับสารได้ดี
๒.  สมาธิ การมุ่งความสนใจอยู่กับการดู หรือฟัง โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอื่น จดจ่อกับเรื่องที่ฟังเเละดู
๓.  มารยาท โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เราต้องฟังหรือต้องดูร่วมกับผู้อื่น ไม่ควรคุยกัน หรือลุกเดินเข้าออกบ่อยครั้ง
๔.  ความพร้อม ทั้งทางกายและจิตใจ ได้แก่ ไม่หิว ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีจิตวิตกกังวล
๕.  ประสบการณ์ ได้แก่ การอ่าน การฟังเรื่องราว การดูสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ทำให้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ สามารถวิเคราะห์เเละประเมินค่าจากเรื่องได้


ลักษณะของผู้ฟังเเละผู้ดูที่ดี


ผู้รับสารจากการฟัง หรือการดูที่ดี ควรมีลักษณะ ดังนี้
๑.  มีจุดมุ่งหมายในการฟังเเละการดู
๒.  ตั้งใจฟังอย่างมีสมาธิ
๓.  ฟังอย่างสำรวมและมีมารยาท
๔.  มีความสามารถในการจับใจความสำคัญ
๕.  ไม่มีอคติต่อสาร หรือผู้ส่งสาร
๖.  มีวิจารณญานในการฟังเเละดู
๗.  รู้จักจดบันทึกสิ่งที่ฟังเเละดูเพื่อนำไปใช้ประโยชน์


มารยาทในการฟัง และการดูสื่อต่างๆ 

มารยาทในการฟัง และการดูที่ดี มีดังนี้
๑.  เเสดงความตั้งใจ และมีความกระตือรือร้นในการฟัง การดู
๒.  แสดงความสนใจสิ่งที่ฟังที่ดู
๓.  มีมารยาทในการประชุม ต้องให้เกียรติผู้พูด และผู้ฟังอื่นๆ
๔.  มีความสำรวม ไม่ทำกิริยาหลุกหลิก
๕.  มีมารยาทในการฟังการพูดในที่ชุมนุมชน
๖.  ขณะฟังหรือดู ไม่ควรลุกเดินเข้าออกบ่อยๆ โดยไม่จำเป็น
๗.  ขณะฟังหรือดู ไม่ควรนำอาหารเเละเครื่องดื่มเข้าไปรับประทาน



 อ้างอิง : true ปลูกปัญญา