29.6.55

สัปดาห์ที่3

วันที่ 29 มิถุนายน 2555


อาจารย์ให้นักศึกษาไปศึกษาค้นคว้า
เรื่องพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย


พัฒนาการทางภาษาของเด็กตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี 
1. เด็กแรกเกิดปกติจะไม่ออกเสียง จะทำเสียงร้องไห้ สะอึก จาม เรอ
2. เด็กอายุ 5 - 6 สัปดาห์เริ­มทำเสียงเล่นโดยเฉพาะถ้ามีคนมาเล่น หลอกล้อ
3. เด็กอายุ 3 เดือน ชอบเล่นเสียงและจะทำเสียงสูงตามผู้อื่น หยุดนิ่งขณะที่ผู้อื­นทำเสียงพูดด้วย
4. เด็กอายุ 6 เดือน ชอบหัวเราะและส่งเสียงเมื่อ­ มีคนมาเล่นด้วย ถ้าไม่พอใจก็ร้องกรี๊ดกร๊าด ชอบเล่นเสียง และออกเสียงเป็น เกอ” “เลอเป็นต้น
5. เด็กอายุ 9 เดือน ชอบเลียนเสียงผู้ใหญ่ ชอบออกเสียงเป็นคำ เช่น หมํ­า หมํ­า” “ดา ดาโดยออกเสียงซ้ำๆ บ่อยๆ
6. เด็กอายุ 1 ปี เริ่มเข้าใจความหมายของคำ เช่น ส่งให้แม่และออกเสียงคำที่มีความหมายได้ 1 – 2 คำ เช่น แม่” “บ๊าย บายพูดได้ประมาณ 6 – 20 คำ
7. เด็กอายุ 2 ปี เด็กพูดได้ประมาณ 50 คำ และบางทีก็พูดเป็นประโยคสั้นๆ ได้ เริ่มใช้คำแทนตัวเอง เริ่มตั้งคำถาม และเข้าใจเรื่องที่ผู้อื่­นพูดด้วย
8. เด็กอายุ 3 ปี เด็กจะเริ่มรู้คำศัพท์มากขึ้น, นับเลขได้, ช่วยพูด, บอกได้ว่าต้องการอะไร
9. เด็กอายุ 3.5 – 4 ปี เด็กพูดมากขึ้น และมีคำศัพท์ใหม่ พูดติดอ่างชั่วระยะหนึ่­งพูดประโยคยาวๆ ได้มากขึ้น รู้จักวางประโยคได้ถูกต้อง เข้าใจคำว่า ข้างบน” “ข้างล่างรู้จักใช้คำปฏิเสธ เช่น ไม่ไป มักใช้คำว่า สมมุติ....ฟังนิทานได้ประมาณ 20 นาที
10. เด็กอายุ 4 – 5 ปี เด็กจะมีคำศัพท์ได้ประมาณ 1,500 – 1,900 คำ บอกชือและนามสกุลตนเองได้ รู้จักเพศของตนเอง ชอบแต่งประโยคและใช้คำต่างๆ ชอบใช้คำถาม ทำไม เมือ­ ไหร่ อย่างไร และสนใจความหมายของคำต่างๆ
11. เด็กอายุ 5 – 6 ปี เด็กจะสามารถพูดได้คล่องและถูกหลักไวยากรณ์แต่ยังออกเสียงพยัญชนะบางตัวไม่ชัดเจน เช่น ส ว ฟ สนใจคำใหม่ๆ และพยายามค้นหาความหมายของคำนั้นๆ จำคำศัพท์ได้ถึง 2,200 คำ บอกชื­อ ทีอ­ ยู่ อายุ และวันเกิดของตนเองได้ ชอบท่องหรือร้องเพลง ทีม­ ีจังหวะและเนือร้องทีม­ ีคำสัมผัสกัน หรือโฆษณาทางทีวี


อ้างอิง :: วิทยานิพนธ์ของ นภเนตร ธรรมบวร
หมายเหตุ :: ไม่มีการเรียนการสอน

22.6.55

สัปดาห์ที่2

วันที่ 22 มิถุนายน 2555


 การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย





ความหมายของการจัดประสบการณ์
         สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 58) ได้ให้ความหมายของการจัดประสบการณ์ไว้ว่า การจัดประสบการณ์ หมายถึง การจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในห้องเรียนให้กับเด็กปฐมวัย โดยให้ได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่น การลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยมิใช่มุ่งจะให้อ่านเขียนได้ดังเช่นในระดับประถมศึกษาแต่เป็นการปูพื้นฐานหรือพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ได้ดี และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทุกด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมิใช่มุ่งจะให้อ่านเขียนได้ดังเช่นระดับประถมศึกษาแต่เป็นการปูพื้นฐานหรือพัฒนาการทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เช่น ทักษะในการสังเกตโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าสรุปได้ว่า การจัดประสบการณ์เป็นการจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัยที่มิใช่มุ่งเน้นด้านวิชาการหรือการเรียนเนื้อหาวิชาการ แต่เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ มีประสบการณ์ตรงกับสื่อสิ่งแวดล้อม บุคคล ตามความสามารถของเด็ก เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับต่อไปหลักการจัดประสบการณ์

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2537 : 18)
ได้กล่าวไว้ว่า การจัดประสบการณ์ควรคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้

1. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรให้สอดคล้องกับพัฒนาของผู้เรียน
2. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรให้เหมาะสมกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
3. ประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสิ่งที่เรียน และควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและมีคุณธรรม
4. ประสบการณ์ที่จัดควรเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน กล่าวคือ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน ไม่ซ้ำซาก ควรให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน เน้นการปฏิบัติและการได้ร่วมกิจกรรมทากที่สุด
5. กิจกรรมที่นำมาใช้ในการจัดประสบการณ์ ควรมีวิธีใช้แรงจูงใจ เร้าความสนใจของผู้เรียน ไม่ซ้ำซาก ควรให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน เน้นการปฏิบัติและการได้ร่วมกิจกรรมมากที่สุด
6. ควรหาแนวทางในการประเมินผลที่เหมาะสมหลักการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

ความหมายของพัฒนาการ
                พัฒนาการ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่แน่นอนตามลำดับขั้น (วัย)ของบุคคล ตั้งแต่เกิดจนตาย การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้บุคคลมีพฤติกรรมที่เป็นระบบระเบียบมากขึ้น สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ปรับตัวได้มากยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นพัฒนาการของมนุษย์ประกอบด้วยด้านต่างๆ ดังนี้
 1.  ด้านร่างกาย  หมายถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย
 2.  ด้านบุคลิกภาพ   หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน   ได้แก่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ  และจิตใจ
 3.  ด้านความสัมพันธ์  หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคม   คือการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น
 4.  ด้านความคิด    หมายถึง การเปลี่ยนแปลง  ความรู้  ความเข้าใจและความคิดต่าง ๆ 


พัฒนาการของมนุษย์จะเป็นอย่างไรนั้น   ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ  2  ประการ  ได้แก่
  1.  วุฒิภาวะ   คือความสามารถสูงสุดที่เกิดขึ้นในแต่ละวัย (ขั้น)  เกิดจากพันธุกรรม ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์หรือการเรียนรู้
  2.  การเรียนรู้  คือการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือความรู้   เนื่องจากได้รับประสบการณ์   

ความหมายและความสำคัญของภาษา
ภาษา คือ เครื่องสื่อความเข้าใจของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นและพัฒนาไปพร้อมกับมนุษย์
1. ประโยชน์ของภาษาที่มีต่อมนุษย์ คือ
ช่วยธำ รงสังคม เช่น คำ ทักทายปราศรัยแสดงไมตรีต่อกัน หรือใช้เป็นกฎระเบียบของสังคม
ช่วยแสดงปัจเจกบุคคล คือ แสดงลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล เช่น นํ้าเสียง ลายมือ รสนิยมอารมณ์
ช่วยพัฒนามนุษย์ เช่น สามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิดและประสบการณ์ให้แก่กันได้
ช่วยกำหนดอนาคต เช่น คำ สั่ง การวางแผน สัญญา คำ พิพากษา คำ พยากรณ์ การนัดหมาย
ช่วยให้จรรโลงใจ เช่น คำ ขวัญ คำ คม คำ ผวน สำนวน ภาษิต เพลง เป็นต้น
2. อิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์ คือ มนุษย์ไม่ได้ใช้ภาษาเป็นสัญลักษณ์อย่างเดียว แต่ยังถือว่าภาษาบางคำเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคลด้วย เช่น การตั้งชื่อคน มักจะมีความหมายในทางดี ชื่อต้นไม้ที่แฝงความหมายต่างๆ ไว้ด้วย เช่น ขนุน มะยม ยอ ระกำ ลั่นทม มะไฟ เป็นต้น



ความงามในภาษา
ความงามในภาษา คือ การใช้ถ้อยคำ ไพเราะสละสลวยและมีความหมายดี มีเนื้อหาที่ประทับใจ ประกอบด้วยดังนี้
1. การสรรคำ คือ การเลือกใช้ถ้อยคำ ดังนี้
1. ให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ
2. ให้เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล
3. ให้เหมาะกับลักษณะของคำ ประพันธ์
4. ให้คำนึงถึงเสียงดังนี้
เสียงธรรมชาติ (สัทพจน์)
เล่นเสียงวรรณยุกต์
เสียงสัมผัส
เสียงหนักเบา
คำพ้องเสียงและคำซํ้า

2. การเรียบเรียงคำ มีกลวิธีดังนี้
เรียงสาร สำคัญไว้ท้ายสุด
เรียงข้อความที่สำคัญเท่ากันเคียงขนานกันไป
เรียงเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้นไปตามลำ ดับ
เรียงเนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปและคลายลงในช่วงสุดท้าย
เรียงถ้อยคำ ให้เป็นประโยคคำ ถามเชิงวาทศิลป์

3. การใช้โวหาร
-โวหารในภาษาร้อยแก้ว เรียกว่า สำนวนโวหาร ในภาษาร้อยกรอง เรียกว่า กวีโวหาร
-โวหารภาพพจน์ แปลโดยตรงว่า การใช้คำ พูดให้เห็นภาพ หมายถึง การใช้ภาษาให้แปลกออกไปจากปกติก่อให้เกิดจินตภาพ (ภาพในความคิด) มีรสกระทบใจ ความรู้สึกและอารมณ์ มีลักษณะดังนี้
1. อุปมา คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง มักมีคำ ว่า ดุจ ดัง ดั่ง ราวกับ ปาน ปูน ประหนึ่ง เพียงเพี้ยง พ่าง เฉก เช่น เสมอ เหมือน กล เล่ห์ ฯลฯ
2. อุปลักษณ์ คือ การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักมีคำว่า เป็น   คือ
3. บุคคลวัต บุคคลสมมติ บุคลาธิษฐาน คือ การสมมติสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีกิริยาอาการเหมือนมนุษย์
4. อติพจน์ อธิพจน์ อวพจน์ คือ การกล่าวไม่ตรงกับความจริง
5. นามนัย คือ การใช้ส่วนประกอบที่เด่นของสิ่งหนึ่งแทนสิ่งนั้นๆ ทั้งหมด เช่น ฉัตรแทนกษัตริย์
6. สัญลักษณ์ คือ การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น สีขาวแทนความบริสุทธิ์
7. อุปมานิทัศน์ คือ การยกเรื่องราวหรือนิทานมาประกอบให้ผู้ฟังเข้าใจยิ่งขึ้น


15.6.55

สัปดาห์ที่1

15 มิถุนายน 2555


อาจารย์ปฐมนิเทศเกี่ยวกับรายวิชา
การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
[Course Syllabus]
[Full View]Course Syllabus