28.8.55

สื่อปฏิทิน

วันที่ 28 สิงหาคม 2555

สื่อปฏิทิน





ประโยชน์ที่ได้รับและข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
                คือการจัดทำสื่อให้น่าสนใจ น่าติดตาม เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตจะต้องออกแบบและอาศัยความรู้ความชำนาญด้านศิลปะเข้ามาช่วยในการจัดทำให้หัวข้อย่อยหรือโครงสร้างข้อมูลที่กำหนดไว้นั้นเป็นรูปเป็นร่าง มีรูปแบบที่สวยงาม สามารถสื่อความหมายได้เหมาะสมกับเนื้อหา รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นเทคนิคต่าง ๆ ที่ทำให้สื่อที่ผลิตนั้น .สะดวกต่อการใช้ ง่ายต่อการเข้าใจ. จะทำให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่า และมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี 

การออกแบบสื่อ

                องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย


สื่อการสอน
                คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา 


วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
                เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกันระบบการการเรียนการสอนระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ


1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน

2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี

4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน ดังกล่าว แสดงได้ดังนี้



การสร้างแบบจำลองและการออกแบบสื่อการเรียนการสอน ตามประเภท

            1. แบบจำลองเชิงนามธรรม เชิงแนวคิด หรือแบบจำลองที่เป็นซอฟต์แวร์ เช่น แบบจำลองคณิตศาสตร์ แบบจำลองวิทยาศาสตร์ แบบจำลองคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีการสร้างแบบจำลอง แบบจำลองความคิด เป็นต้น แบบจำลองเชิงนามธรรม หรือแบบจำลองเชิงแนวคิด เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเชิงทฤษฎีเพื่อแทนกระบวนการเชิงสังคม เชิงชีววิทยา หรือ เชิงฟิสิกส์ ด้วยเซตของตัวแปรและเซตของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านั้นทั้งเชิงตรรก และ เชิงปริมาณ แบบจำลองจะถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงเหตุผลภายในกรอบงานเชิงตรรกในอุมดมคติของกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งสำคัญต่อทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์โดยแบบจำลองเป็นสิ่งที่ทำให้สมมติฐานต่าง ๆชัดแจ้งขึ้น ว่าถูกหรือผิดในรายละเอียด

           2.แบบจำลองที่เป็นรูปธรรม ใช้แทนวัตถุได้ เช่น ตัวแบบ แบบจำลองสามมิติ บ้านจำลอง รถจำลอง แบบจำลองในเกม เป็นต้น


อ้างอิง :: อภิชิต ศิริวงษ์

การอบรมสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษสี


วันที่ 28 สิงหาคา 2555


การอบรมสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษสี




ประโยชน์ที่ได้รับ

ays" allowfullscreen="true" width="480" height="360">
                ได้รู้เกี่ยวกับวิธีการตัดดอกไม้เป็นรูปร่างต่างๆ และวิธีการจัดดอกไม้กระดาษให้เป็นช่องสวยงามจะต้องใช้ไม้บรรทัดหรือกรรไกค่อยๆดัด เพื่อที่จะได้กรีบดอกหรือใบที่สวยงาม หากมีการจัดบอร์ดดิฉันสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการตกแต่งประดิษฐ์ดอกไม้ได้เอง ถือว่าเป็นการจัดอบรมที่ดีมากเลยคะ

24.8.55

สัปดาห์ที่11


วันที่ 24 สิงหาคม 2555


อาจารย์สอนเรื่อง
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด




เรื่องย่อ
       
  อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร




แนวคิดสำคัญ

แม้ว่าเด็กๆ จะแตกต่างจากคนอื่น เด็กๆ ก็สามารถอยู่อย่างมีความสุขได้
 การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดีที่เด็กๆ ควรปฏิบัติอยู่เสมอ


  เด็กๆ ควรขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลือ




นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
                ทุกๆคนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งด้านร่างกายและจิตใจ หากแต่เพียงเรารู้ตัวว่าเราทำดี คิดดี และรู้จักพอใจ ภูมิใจในตนเองแล้วหละก็ คนอื่นย่อมเห็นถึงความดีและยอมรับในตัวเรา


_._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._


เพลงเกาะสมุย
อาจารย์ให้นักศึกษาฟังและจับใจความจากเพลง





การจับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟัง และการดูสื่อต่างๆ


                การฟังและการดู เป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญในการติดต่อสื่อสาร โดยการรับสารจากบุคคลหรือสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น


ปัจจัยที่ทำให้การฟังและการดูมีประสิทธิภาพ มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้


๑.  ความสนใจในการรับสาร หากมีความสนใจที่จะรับสารก็จะสามารถรับสารได้ดี
๒.  สมาธิ การมุ่งความสนใจอยู่กับการดู หรือฟัง โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอื่น จดจ่อกับเรื่องที่ฟังเเละดู
๓.  มารยาท โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เราต้องฟังหรือต้องดูร่วมกับผู้อื่น ไม่ควรคุยกัน หรือลุกเดินเข้าออกบ่อยครั้ง
๔.  ความพร้อม ทั้งทางกายและจิตใจ ได้แก่ ไม่หิว ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีจิตวิตกกังวล
๕.  ประสบการณ์ ได้แก่ การอ่าน การฟังเรื่องราว การดูสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ทำให้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ สามารถวิเคราะห์เเละประเมินค่าจากเรื่องได้


ลักษณะของผู้ฟังเเละผู้ดูที่ดี


ผู้รับสารจากการฟัง หรือการดูที่ดี ควรมีลักษณะ ดังนี้
๑.  มีจุดมุ่งหมายในการฟังเเละการดู
๒.  ตั้งใจฟังอย่างมีสมาธิ
๓.  ฟังอย่างสำรวมและมีมารยาท
๔.  มีความสามารถในการจับใจความสำคัญ
๕.  ไม่มีอคติต่อสาร หรือผู้ส่งสาร
๖.  มีวิจารณญานในการฟังเเละดู
๗.  รู้จักจดบันทึกสิ่งที่ฟังเเละดูเพื่อนำไปใช้ประโยชน์


มารยาทในการฟัง และการดูสื่อต่างๆ 

มารยาทในการฟัง และการดูที่ดี มีดังนี้
๑.  เเสดงความตั้งใจ และมีความกระตือรือร้นในการฟัง การดู
๒.  แสดงความสนใจสิ่งที่ฟังที่ดู
๓.  มีมารยาทในการประชุม ต้องให้เกียรติผู้พูด และผู้ฟังอื่นๆ
๔.  มีความสำรวม ไม่ทำกิริยาหลุกหลิก
๕.  มีมารยาทในการฟังการพูดในที่ชุมนุมชน
๖.  ขณะฟังหรือดู ไม่ควรลุกเดินเข้าออกบ่อยๆ โดยไม่จำเป็น
๗.  ขณะฟังหรือดู ไม่ควรนำอาหารเเละเครื่องดื่มเข้าไปรับประทาน



 อ้างอิง : true ปลูกปัญญา



20.8.55

ภาษาธรรมชาติ

TV ครู
เรื่องภาษาธรรมชาติ



การสอนภาษาแบบธรรมชาติคือ
                การสอนภาษาแบบธรรมชาติ ( Whole Language Approach ) คือ ปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งทำให้เกิดแนวการสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ( Moss and Noden, eds., 1993; Spodek and Saracho, 1994; Stanek,1993 ) ปรัชญาและระบบความเชื่อนี้มีทฤษฎีพื้นฐานมาจากทฤษฎีว่าด้วยระบบของภาษา ทฤษฎีว่าด้วยภาษา ความคิด และสัญลักษณ์สื่อสาร และทฤษฎีว่าด้วยการอ่านเขียนในระบบภาษา ( บุษบง ตันติวงศ์, 2536 ) การสอนภาษาแบบธรรมชาติมีแนวคิดและหลักการที่สอดคล้องกับลักษณะและหน้าที่ของภาษา คือ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีความหมายและเหมาะสมกับพัฒนาการด้านการรู้หนังสือของเด็ก

ความสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
        การสอนภาษาแบบธรรมชาตินับว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก คือ ช่วยให้เด็กมีความสนุกสนานในการเรียนภาษา และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาทางภาษาทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนอย่างครอบคลุมทุกด้านและเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ครูและผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการทางด้านภาษาด้านการอ่านและการเขียนของเด็กเพิ่มขึ้น (ฉันทนา ภาคบงกช, ม.ป.ป. )

แนวคิดและหลักการการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
        จากความเชื่อ แนวคิด และหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายไว้ สรุปเป็นหลักการสำคัญของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ดังนี้
        1. การจัดสภาพแวดล้อม การสอนภาษาต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว ไม่แบ่งเป็นทักษะย่อยๆ และจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมด้วย

        2. การสื่อสารที่มีความหมาย การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริงที่มีความหมายต่อเด็ก ครูจะต้องจัดเวลาให้เด็กมีโอกาสอ่านเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อการฝึกหัด และให้เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาสตลอดทั้งวัน โดยไม่ต้องกำหนดตายตัวว่าช่วงเวลาใดต้องอ่าน หรือช่วงเวลาใดต้องเขียน

        3. การเป็นแบบอย่าง การสอนภาษาจะต้องให้เด็กเห็นประโยชน์ของการใช้ภาษาในความมุ่งหมายต่างๆ ครูต้องอ่านและเขียนโดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้จริงๆให้เด็กได้เห็น เช่น เพื่อการสื่อสาร เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อค้นหาวิธีการ ฯลฯ นอกจากนี้ครูยังต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก เพื่อสร้างให้เด็กเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการอ่าน

        4. การตั้งความคาดหวัง การสอนภาษาจะต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับที่เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ครูควรเชื่อมั่นว่าเด็กจะสามารถอ่านและเขียนได้ดีขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้น เด็กมีความสามารถในการอ่านและการเขียนตั้งแต่ยังอ่านและเขียนไม่เป็น ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับโอกาสที่จะอ่านและเขียนตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียน และที่สำคัญคือครูไม่ควรคาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมือนผู้ใหญ่

        5. การคาดคะเน การสอนภาษาควรให้เด็กมีโอกาสที่จะทดลองกับภาษา สร้างสมมุติฐาน-เบื้องต้นของตน และมีโอกาสเดาหรือคาดคะเนคำที่จะอ่าน และมีโอกาสคิดประดิษฐ์สัญลักษณ์และคิดสะกดเพื่อการเขียน

        6. การให้ข้อมูลย้อนกลับ การสอนภาษาควรตอบสนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็กในทางบวก ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายแม้ว่ายังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ และพยายามตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ ครูอาจให้เด็กได้เห็นตัวอย่างที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การอ่านหนังสือเล่มที่เด็กชอบอ่านให้เด็กฟังในโอกาสอื่นๆ หรือเขียนให้ดูเมื่อมีการสนทนาในกลุ่มใหญ่ เป็นต้น

        7. การยอมรับนับถือ การสอนภาษาจะต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ว่าเด็กเรียนรู้การอ่านและเขียนอย่างแตกต่างกัน ตามช่วงเวลา และอัตราที่แตกต่างกัน ครูต้องศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล ศึกษาความสนใจ ความสามารถ และสอนเด็กตามความสามารถที่แตกต่างกันของเด็ก เด็กต้องได้ตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง ในช่วงเวลาเดียวกันเด็กไม่จำเป็นต้องทำกิจกรรมอย่างเดียวกัน หรือทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน เพราะการเรียนรู้ภาษาไม่มีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตายตัว

        8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น การสอนภาษาต้องส่งเสริมให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคาดคะเนในการอ่านหรือเขียน แม้ว่าไม่เคยอ่านหรือเขียนมาก่อน ครูต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือด้านการอ่านและเขียนเมื่อจำเป็น เด็กต้องไม่ถูกตราหน้าว่าไม่มีความสามารถในการอ่านและเขียน ดังนั้น การสอนภาษาจึงต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถที่จะอ่านและเขียนได้


การสอนภาษาแบบธรรมชาติในโรงเรียนอนุบาล

การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
        การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนความเชื่อหรือปรัชญาของผู้จัด จากหลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติที่กล่าวไว้ว่าการสอนภาษาจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และเป็นองค์รวมนั้น แสดงให้เห็นว่าการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายลักษณะการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่สามารถส่งเสริมการเรียนภาษาของเด็กไว้ สามารถสรุปได้ ดังนี้

        1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะจัดให้มีมุม-ประสบการณ์ต่างๆ โดยมีมุมที่เด่นชัด คือ มุมห้องสมุด มุมอ่าน มุมเขียน ส่วนมุมอื่นๆที่อาจจัดไว้ ได้แก่ มุมบทบาทสมมุติ มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก ฯลฯ โดยมุมทุกมุมสามารถจัดให้เอื้อต่อการเรียนภาษาได้โดยจัดให้มีป้ายสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก มีวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถกระตุ้นให้เด็กต้องการที่จะเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

        2. บรรยากาศภายในห้องเรียน ในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติจะมีบรรยากาศของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เด็กมีโอกาสและเวลาที่จะตัดสินใจเลือกลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กๆสนใจที่จะอ่านและเขียนจากความเข้าใจและประสบการณ์ ทั้งนี้ จะต้องเป็นห้องเรียนที่เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข


บทบาทของครูที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ
        เนื่องจากการสอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นปรัชญาและระบบความเชื่อซึ่งเป็นกรอบให้ครูในการตัดสินใจและออกแบบการสอน ดังนั้น เมื่อมีการนำการสอนภาษาแบบธรรมชาติมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ครูจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทของตนจากการสอนแบบเดิม มีนักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายบทบาทของครูที่สอนภาษาแบบธรรมชาติไว้ สรุปได้ดังนี้

        1. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ครูต้องเป็นผู้ที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสภาพ-แวดล้อม การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ หรือแหล่งข้อมูลสำหรับเด็ก และเป็นผู้ที่จัดให้ห้องเรียนมีบรรยากาศของการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่การให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรม ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดเห็น จัดให้เด็กมีโอกาสอ่านและเขียน สนับสนุนให้เด็กกล้าเสี่ยงที่จะอ่านและเขียนคำที่ไม่เคยพบมาก่อน ยอมรับสิ่งที่เด็กอ่านและเขียน และตอบสนองต่อความพยายามของเด็กในทางบวก ไม่ตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์เมื่อเด็กอ่านหรือเขียนยังไม่ถูก

        2. ครูเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้ ครูต้องเป็นแบบอย่างในการใช้ภาษาในลักษณะต่างๆ ทั้งในลักษณะของการสาธิตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรู้หนังสือ เช่น การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน การชี้คำขณะที่อ่าน การถ่ายทอดความคิดโดยการเขียน ฯลฯ หรือในลักษณะที่ครูเป็นนักอ่านหรือนักเขียน เช่น การเขียนบันทึกถึงกัน การอ่านเพื่อความมุ่งหมายต่างๆตามโอกาส

        3. ครูเป็นผู้จัดการให้เกิดการเรียนรู้ ครูต้องจัดการให้การเรียนรู้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ต้องให้เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือ และต้องให้เด็กได้ทำงานร่วมกัน

        4. ครูเป็นผู้ประเมินพัฒนาการ ครูต้องประเมินพัฒนาการของเด็กเพื่อดูความก้าวหน้า และสามารถส่งเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสมต่อไป


บทบาทเด็กในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติ
        นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายบทบาทของเด็กในห้องเรียนที่สอนภาษาแบบธรรมชาติไว้ สรุปได้ ดังนี้

        1. เด็กเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านและการเขียนด้วยการอ่านและการเขียนอย่างมีความหมายจริงๆ

        2. เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ตั้งแต่การสร้างหัวข้อที่จะเรียนร่วมกัน การตัดสินใจเลือกทำกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการและใช้ในชีวิตจริงของเด็ก และ การประเมินผลงานของตัวเอง

        3. เด็กเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนและครู ซึ่งเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เด็กได้เรียนรู้แบบร่วมมือมากขึ้น

19.8.55

สัปดาห์ที่10(เรียนชดเชย)


วันที่ 19 สิงหาคม 2555


ชี้แจ้งเกี่ยวกับการผลิตสื่อจากปฏิทินตั้งโต๊ะ

                อาจารย์ให้นักศึกษาทำปฏิทินคำศัพท์ โดยกลุ่มของดิฉันได้ อักษรต่ำ สระ อุ อู โดยให้นำอักษรเสียงต่ำมาผสมกับสระ อุ อู ให้ได้เป็นคำต่างๆ การทำสื่อนั้นจะต้องมีเทคนิคและออกแบบสื่อให้น่าสนใจ พร้อมทั้งหาภาพประกอบในคำต่างๆด้วย

1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ส ษ ศ ห  
( ฉันฝากขวดขี้ผึ้งใส่ถุงให้เศรษฐี )

2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ  
( ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง ฎ ฏ )

3.อักษรต่ำ มี 24 ตัวแบ่งเป็น  
- อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ  
(พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ ฅ ฆ ฌ ฑ ฒ ธ ภ )
อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล  
( งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก )

สระ
อะ อา  /  อิ อี  อึ อือ  / อุ อู  /  เอะ เอ  /  แอะ แอ  /  โอะ โอ 

_._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._

ให้นักศึกษาทำกิจกรรมภายในชั้นเรียน


1. อาจารย์ให้นักศึกษานำสิ่งของที่มีประโยชน์และสำคัญต่อนักศึกษา
= แว่นตา เพราะดิฉันสายตาสั้น หากดิฉันไม่มีแว่นตาจะทำให้การเรียนหนังสือและการใช้ชีวิตประจำวันของดิฉันยุ้งยากมากกว่าเดิมคะ



2. อาจารย์ให้นักศึกษาโฆษณาสินค้า 1 ชิ้นอะไรก็ได้
= Tablet เพราะหากคุณเหนื่อยที่จะต้องแบกหนังสือทีละหลายๆเล่ม เหนื่อยกับการที่ต้องเพ่งมองตัวอักษรในโทรศัพท์เครื่องเล็กๆ คุณต้องลองใช้ Samsung Galaxy Tab 7.7 เพื่อชีวิตที่สะดวกสบายในการทำงานและการเรียน ทั้งโน้ตข้อความ พิมพ์เอกสาร นำเสนองาน และอื่นๆอีกมากมายหลากหลาย Application ให้เลือกดาวโหลดใช้  อยากรู้คุณต้องลอง



3. อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพแทนคำพูด




4. อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพตามใจชอบ 





ประโยชน์ที่ได้รับในการทำกิจกรรมในวันนี้พร้อมกับศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

                ได้รู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพฤติกรรมกล้าแสดงออก หรือ Assertive Behavior ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกล้าแสดงสิทธิ ความคิดเห็น ความเชื่อ ความรู้สึก หรือความต้องการของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ และกล้าที่จะปฏิเสธด้วยวิธีการที่ตรงไปตรงมา และเหมาะสม โดยไม่รบกวนสิทธิของผู้อื่น การที่เรามีพฤติกรรมกล้าแสดงออกนั้น แสดงให้เห็นถึงความเคารพนับถือและความต้องการที่เรามีให้แก่ตนเองและผู้อื่นด้วย ประเภทของพฤติกรรมกล้าแสดงออก สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

            1. การแสดงออกแบบพื้นฐาน (Basic Assertion) เป็นการกล้าแสดงสิทธิ ความเชื่อ ความคิดเห็นหรือความรู้สึกของตนเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับทักษะทางสังคมด้านอื่น ๆ เช่น เมื่อเรามีความรู้สึกดี ๆ กับใครสักคนเราสามารถบอกได้ว่า " ฉันชอบคุณ " หรือ " ฉันรักคุณ " เป็นต้น

            2. การแสดงออกแบบตระหนัก (Empathic Assertion) บางครั้งการแสดงความรู้สึกหรือความต้องการของเรามีผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้อื่นวิธี Empathic Assertion โดยเราจะเริ่มต้นด้วยประโยคที่แสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจหรือตระหนักในความรู้สึกหรือความคิดเห็นของผู้อื่น แล้วตามด้วยการแสดงสิทธิหรือความต้องการของตนเอง เช่น ถ้าเรารู้สึกเพื่อนเข้ามาวุ่นวาย คอยให้คำแนะนำกับเรามากจนเกินไป เราสามารถบอกให้เพื่อนรับรู้ความรู้สึกของเราได้โดยอาจจะพูดว่า " ฉันเข้าใจนะที่เธอคอยเป็นห่วงเป็นใย ให้คำแนะนำฉันในทุก ๆ เรื่องเป็นเพราะว่าเธอรักฉันไม่ต้องการให้ฉันทำอะไรผิดพลาดไป แต่ฉันคิดว่าฉันโตแล้ว และสามารถรับผิดชอบตัวเองได้ ฉันต้องการที่จะตัดสินใจและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวฉันเอง ถึงแม้ว่ามันอาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ฉันก็พร้อมที่จะยอมรับผลที่ตามมาอย่างไรก็ฉัน ขอขอบคุณ สำหรับคำแนะนำที่มีให้ตลอดมา " เป็นต้น

            3. การแสดงออกแบบเพิ่มระดับ (Escalating Assertion) เป็นการกล้าแสดงออกที่เริ่มจากระดับต่ำที่สุด แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับขึ้นเรื่อย ๆ เช่น "เธอก็ทำหน้าที่ของเธอได้ดี แต่เราคิดว่าเธอน่าจะทำได้ดีกว่านี้"

            4. การแสดงออกแบบเผชิญหน้า (Confrontation Assertion) วิธีการนี้ใช้เมื่อการกระทำกับคำพูดของผู้อื่นไม่เป็นไปในทางเดียวกัน หรือไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่ตั้งไว้ โดยวิธีการพูดนั้นจะเริ่มจากความต้องการหรือความรู้สึกของผู้พูดก่อน แล้วตามด้วยความไม่เป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การตำหนิ หรือทำให้ผู้อื่นรู้สึกผิด เช่น "ครูคิดว่าก่อนที่หนูจะรวบรวมงานมาส่ง หนูควรที่จะให้เพื่อนในกลุ่มตรวจทานก่อน เพื่อครั้งต่อไปกลุ่มของหนูน่าจะได้คะแนนเพิ่มขึ้น"

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกล้าแสดงออกและการไม่กล้าแสดงออก



ตัวอย่างวิธีการเสริมสร้างพฤติกรรมกล้าแสดงออก

                1. ภาพพจน์ที่ดีต่อตนเอง  เป็นการสร้างบรรยากาศที่ทำให้ผู้เรียนได้พิจารณาถึงข้อดีของตนเอง เช่น การให้นักเรียนหลับตาแล้วนึกถึงความดีของตนเอง  โดยครูอาจจะเป็นผู้บรรยายคุณธรรมเหล่านั้นทำให้เด็กเกิดการรับรู้ว่าตนเป็นบุคคลที่มีคุณค่า
                2. ภาพพจน์ที่ดีต่อผู้อื่น  การฝึกให้ผู้เรียนยอมรับตนเองและผู้อื่น  โดยใช้กิจกรรมสร้างเสริมความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น (เพื่อนเช่น  การชื่นชมและยอมรับผลงานของเพื่อน  แล้วพร้อมที่จะนำสิ่งที่ดีนำไปปรับปรุงใช้เพื่อพัฒนาตนเอง
                3. การมองโลกในแง่ดี  เป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้ตนเองมีคุณค่า เป็นการมองตนเองและผู้อื่นในด้านบวก  อีกทั้งเชื่อว่าทุกคนมีพื้นฐานทางจิตใจที่ดีและพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  เช่น เด็กหญิงสมหญิงมองว่าที่เด็กชายสมบูรณ์ไม่ค่อยสนิทกับเพื่อนหรือออกไปสังสรรค์บ่อยๆ เป็นคนประหยัด แต่สมบูรณ์ก็เป็นที่รักของเพื่อนๆเพราะชอบช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ
                4. มีความฉลาดทางอารมณ์   เป็นการควบคุมตนเองในด้านพฤติกรรมกล้าแสดงออก โดยการควบคุมสภาวะจิตใจให้มั่นคงและเกิดความสมดุล  เช่น  การใช้ศิลปะและดนตรี  เพื่อให้เด็กเกิดสมาธิและความมั่นคงทางด้านอารมณ์
                5.โอกาส  เป็นการสร้างสถานการณ์ที่ทำให้เด็กฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออก เช่น การเปิดโอกาสให้เด็กได้-
แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระหรือการให้เด็กได้แสดงความสามารถโดยไม่จำกัดกิจกรรม  และเพื่อให้เด็กได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างสร้างสรรค์
                6. การเสริมแรง (Reinforcement) คือการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากผลกรรมที่ตามหลังพฤติกรรมนั้น
                                1.การเสริมแรงท างบวก (Positive Reinforcement)หมายถึง สิ่งของ คำพูด หรือสภาพการณ์ที่จะช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นอีก หรือสิ่งทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นไปได้ของการเกิดพฤติกรรม คุณครูอาจจะชมเมื่อนักเรียนทำสิ่งนั้นได้ดี เช่น เก่งมากค่ะ   ดีมากค่ะ  และยอดเยี่ยมมาก  เป็นต้น
                                 2.การเสริมแรงท างลบ  (Negative Reinforcement) หมายถึง การเปลี่ยนสภาพการณ์หรือเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็อาจจะทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมได้  เช่น การพูดตำหนิเพื่อให้เด็กรู้ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกไม่เหมาะสม




17.8.55

สัปดาห์ที่10


วันที่ 17 สิงหาคม 2555 


อาจารย์ติดธุระ
ไม่มีการเรียนการสอน  โดยจะมีการสอนชดเชย
ในวันที่ 19 สิงหาคม 2555   เวลา 13:00 น.  ที่ห้อง 223


10.8.55

สัปดาห์ที่9


วันที่ 10 สิงหาคม  2555     

อาจารย์มอบหมายงาน
เรื่องการผลิตสื่อจากปฏิทินตั้งโต๊ะ 







               โดยการผลิตสื่อนั้น ให้นำปฏิทินที่ไม่ใช้แล้วมาประยุกต์ใช้ทำเป็นสื่อให้เด็กๆได้ใช้ รายละเอียดในการทำงานและการแบ่งกลุ่ม อาจารย์ให้มารับที่โต๊ะในวันพุธที่ 15 สิงหาคม 2555 แล้วสัปดาห์ต่อไปทุกกลุ่มต้องพร้อมที่จะนำเสนอสื่อของตนเอง

3.8.55

สัปดาห์ที่8


วันที่ สิงหาคม 2555

วันเข้าพรรษา



                วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามการเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม ค่ำ เดือน ของทุกปี (หรือเดือน หลัง ถ้ามีเดือน สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

                วันเข้าพรรษา (วันแรม ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม ค่ำ เดือน ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา(วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย

                สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

                ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตรฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"

                นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ"โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย

สำหรับในปี พ.ศ. 2554 นี้ วันเข้าพรรษาตรงกับ วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม ตามปฏิทินสุริยคติ


ความสำคัญ
ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา


             ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน 

               เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา

               เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไปเพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา


ประเพณีเนื่องด้วยการเข้าพรรษาในประเทศไทย
                 ในประเทศไทยมีประเพณีมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ไทยมาช้านาน ดังปรากฏประเพณีมากมายที่เกี่ยวกับการเข้าจำพรรษา เช่น ประเพณีถวายเทียนพรรษา แก่พระสงฆ์เพื่อจุดบูชาตามอารามและเพื่อถวายให้พระสงฆ์สามเณรนำไปจุดเพื่ออ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในระหว่างเข้าจำพรรษา ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือผ้าวัสสิกสาฏก แก่พระสงฆ์ก่อนเข้าพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์นำไปใช้สรงน้ำฝนในพรรษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่พุทธศาสนิกชนไทยถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีคือ ประเพณีถวายผ้ากฐิน ที่จัดหลังพระสงฆ์ปวารณาออกพรรษา เพื่อถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ที่จำครบพรรษาจะได้กรานและได้รับอานิสงส์กฐิน เป็นต้น

ประเพณีถวายเทียนพรรษา


                เทียนพรรษาในปัจจุบันใช้ประโยชน์เพียงจุดบูชาพระพุทธปฏิมา ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาพระธรรมเหมือนในอดีตอีกแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันเริ่มมีชาวพุทธนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างไปถวายแก่พระสงฆ์แทนเทียนพรรษาซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่าใช้จุดบูชาเท่านั้น

                มีประเพณีหนึ่งที่เนื่องด้วยวันเข้าพรรษาและจัดเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นงานประเพณี "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

                ในอดีต การหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีสำคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัวกันนำขี้ผึ้งมาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ แต่ในปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่จะนิยมการซื้อหาเทียนพรรษาจากร้านสังฆภัณฑ์ โดยบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนไปซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างถวายแก่พระสงฆ์แทนด้วย ซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนที่ได้ประโยชน์แก่พระสงฆ์โดยตรง เพราะปัจจุบันไม่ได้มีการนำเทียนมาจุดเพื่ออ่านหนังสืออีกแล้ว พระสงฆ์คงนำเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหารเท่านั้น

ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน (ก่อนเข้าพรรษา)    

            
                ผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก คือผ้าเปลี่ยนสำหรับสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ เป็นผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น พระสงฆ์ที่มีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบน้ำฝนจำเป็นต้องเปลือยกาย ทำให้ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา นางวิสาขามหาอุบาสิกาจึงคิดถวาย "ผ้าวัสสิกสาฏก" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนกับผ้าสบงปกติ จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน 

*อ้างอิง :: วิกิพีเดีย
*หมายเหตุ :: วันหยุดราชการ