19.8.55

สัปดาห์ที่10(เรียนชดเชย)


วันที่ 19 สิงหาคม 2555


ชี้แจ้งเกี่ยวกับการผลิตสื่อจากปฏิทินตั้งโต๊ะ

                อาจารย์ให้นักศึกษาทำปฏิทินคำศัพท์ โดยกลุ่มของดิฉันได้ อักษรต่ำ สระ อุ อู โดยให้นำอักษรเสียงต่ำมาผสมกับสระ อุ อู ให้ได้เป็นคำต่างๆ การทำสื่อนั้นจะต้องมีเทคนิคและออกแบบสื่อให้น่าสนใจ พร้อมทั้งหาภาพประกอบในคำต่างๆด้วย

1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ส ษ ศ ห  
( ฉันฝากขวดขี้ผึ้งใส่ถุงให้เศรษฐี )

2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ  
( ไก่จิกเด็กตายบนปากโอ่ง ฎ ฏ )

3.อักษรต่ำ มี 24 ตัวแบ่งเป็น  
- อักษรต่ำคู่ มี 14 ตัว คือ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ฮ  
(พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ ฅ ฆ ฌ ฑ ฒ ธ ภ )
อักษรต่ำเดี่ยว มี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล  
( งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก )

สระ
อะ อา  /  อิ อี  อึ อือ  / อุ อู  /  เอะ เอ  /  แอะ แอ  /  โอะ โอ 

_._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._._

ให้นักศึกษาทำกิจกรรมภายในชั้นเรียน


1. อาจารย์ให้นักศึกษานำสิ่งของที่มีประโยชน์และสำคัญต่อนักศึกษา
= แว่นตา เพราะดิฉันสายตาสั้น หากดิฉันไม่มีแว่นตาจะทำให้การเรียนหนังสือและการใช้ชีวิตประจำวันของดิฉันยุ้งยากมากกว่าเดิมคะ



2. อาจารย์ให้นักศึกษาโฆษณาสินค้า 1 ชิ้นอะไรก็ได้
= Tablet เพราะหากคุณเหนื่อยที่จะต้องแบกหนังสือทีละหลายๆเล่ม เหนื่อยกับการที่ต้องเพ่งมองตัวอักษรในโทรศัพท์เครื่องเล็กๆ คุณต้องลองใช้ Samsung Galaxy Tab 7.7 เพื่อชีวิตที่สะดวกสบายในการทำงานและการเรียน ทั้งโน้ตข้อความ พิมพ์เอกสาร นำเสนองาน และอื่นๆอีกมากมายหลากหลาย Application ให้เลือกดาวโหลดใช้  อยากรู้คุณต้องลอง



3. อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพแทนคำพูด




4. อาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพตามใจชอบ 





ประโยชน์ที่ได้รับในการทำกิจกรรมในวันนี้พร้อมกับศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม

                ได้รู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพฤติกรรมกล้าแสดงออก หรือ Assertive Behavior ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกล้าแสดงสิทธิ ความคิดเห็น ความเชื่อ ความรู้สึก หรือความต้องการของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้ และกล้าที่จะปฏิเสธด้วยวิธีการที่ตรงไปตรงมา และเหมาะสม โดยไม่รบกวนสิทธิของผู้อื่น การที่เรามีพฤติกรรมกล้าแสดงออกนั้น แสดงให้เห็นถึงความเคารพนับถือและความต้องการที่เรามีให้แก่ตนเองและผู้อื่นด้วย ประเภทของพฤติกรรมกล้าแสดงออก สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

            1. การแสดงออกแบบพื้นฐาน (Basic Assertion) เป็นการกล้าแสดงสิทธิ ความเชื่อ ความคิดเห็นหรือความรู้สึกของตนเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับทักษะทางสังคมด้านอื่น ๆ เช่น เมื่อเรามีความรู้สึกดี ๆ กับใครสักคนเราสามารถบอกได้ว่า " ฉันชอบคุณ " หรือ " ฉันรักคุณ " เป็นต้น

            2. การแสดงออกแบบตระหนัก (Empathic Assertion) บางครั้งการแสดงความรู้สึกหรือความต้องการของเรามีผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้อื่นวิธี Empathic Assertion โดยเราจะเริ่มต้นด้วยประโยคที่แสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจหรือตระหนักในความรู้สึกหรือความคิดเห็นของผู้อื่น แล้วตามด้วยการแสดงสิทธิหรือความต้องการของตนเอง เช่น ถ้าเรารู้สึกเพื่อนเข้ามาวุ่นวาย คอยให้คำแนะนำกับเรามากจนเกินไป เราสามารถบอกให้เพื่อนรับรู้ความรู้สึกของเราได้โดยอาจจะพูดว่า " ฉันเข้าใจนะที่เธอคอยเป็นห่วงเป็นใย ให้คำแนะนำฉันในทุก ๆ เรื่องเป็นเพราะว่าเธอรักฉันไม่ต้องการให้ฉันทำอะไรผิดพลาดไป แต่ฉันคิดว่าฉันโตแล้ว และสามารถรับผิดชอบตัวเองได้ ฉันต้องการที่จะตัดสินใจและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวฉันเอง ถึงแม้ว่ามันอาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ฉันก็พร้อมที่จะยอมรับผลที่ตามมาอย่างไรก็ฉัน ขอขอบคุณ สำหรับคำแนะนำที่มีให้ตลอดมา " เป็นต้น

            3. การแสดงออกแบบเพิ่มระดับ (Escalating Assertion) เป็นการกล้าแสดงออกที่เริ่มจากระดับต่ำที่สุด แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับขึ้นเรื่อย ๆ เช่น "เธอก็ทำหน้าที่ของเธอได้ดี แต่เราคิดว่าเธอน่าจะทำได้ดีกว่านี้"

            4. การแสดงออกแบบเผชิญหน้า (Confrontation Assertion) วิธีการนี้ใช้เมื่อการกระทำกับคำพูดของผู้อื่นไม่เป็นไปในทางเดียวกัน หรือไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่ตั้งไว้ โดยวิธีการพูดนั้นจะเริ่มจากความต้องการหรือความรู้สึกของผู้พูดก่อน แล้วตามด้วยความไม่เป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ใช่การตำหนิ หรือทำให้ผู้อื่นรู้สึกผิด เช่น "ครูคิดว่าก่อนที่หนูจะรวบรวมงานมาส่ง หนูควรที่จะให้เพื่อนในกลุ่มตรวจทานก่อน เพื่อครั้งต่อไปกลุ่มของหนูน่าจะได้คะแนนเพิ่มขึ้น"

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกล้าแสดงออกและการไม่กล้าแสดงออก



ตัวอย่างวิธีการเสริมสร้างพฤติกรรมกล้าแสดงออก

                1. ภาพพจน์ที่ดีต่อตนเอง  เป็นการสร้างบรรยากาศที่ทำให้ผู้เรียนได้พิจารณาถึงข้อดีของตนเอง เช่น การให้นักเรียนหลับตาแล้วนึกถึงความดีของตนเอง  โดยครูอาจจะเป็นผู้บรรยายคุณธรรมเหล่านั้นทำให้เด็กเกิดการรับรู้ว่าตนเป็นบุคคลที่มีคุณค่า
                2. ภาพพจน์ที่ดีต่อผู้อื่น  การฝึกให้ผู้เรียนยอมรับตนเองและผู้อื่น  โดยใช้กิจกรรมสร้างเสริมความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น (เพื่อนเช่น  การชื่นชมและยอมรับผลงานของเพื่อน  แล้วพร้อมที่จะนำสิ่งที่ดีนำไปปรับปรุงใช้เพื่อพัฒนาตนเอง
                3. การมองโลกในแง่ดี  เป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้ตนเองมีคุณค่า เป็นการมองตนเองและผู้อื่นในด้านบวก  อีกทั้งเชื่อว่าทุกคนมีพื้นฐานทางจิตใจที่ดีและพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  เช่น เด็กหญิงสมหญิงมองว่าที่เด็กชายสมบูรณ์ไม่ค่อยสนิทกับเพื่อนหรือออกไปสังสรรค์บ่อยๆ เป็นคนประหยัด แต่สมบูรณ์ก็เป็นที่รักของเพื่อนๆเพราะชอบช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ
                4. มีความฉลาดทางอารมณ์   เป็นการควบคุมตนเองในด้านพฤติกรรมกล้าแสดงออก โดยการควบคุมสภาวะจิตใจให้มั่นคงและเกิดความสมดุล  เช่น  การใช้ศิลปะและดนตรี  เพื่อให้เด็กเกิดสมาธิและความมั่นคงทางด้านอารมณ์
                5.โอกาส  เป็นการสร้างสถานการณ์ที่ทำให้เด็กฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออก เช่น การเปิดโอกาสให้เด็กได้-
แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระหรือการให้เด็กได้แสดงความสามารถโดยไม่จำกัดกิจกรรม  และเพื่อให้เด็กได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างสร้างสรรค์
                6. การเสริมแรง (Reinforcement) คือการทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากผลกรรมที่ตามหลังพฤติกรรมนั้น
                                1.การเสริมแรงท างบวก (Positive Reinforcement)หมายถึง สิ่งของ คำพูด หรือสภาพการณ์ที่จะช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นอีก หรือสิ่งทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นไปได้ของการเกิดพฤติกรรม คุณครูอาจจะชมเมื่อนักเรียนทำสิ่งนั้นได้ดี เช่น เก่งมากค่ะ   ดีมากค่ะ  และยอดเยี่ยมมาก  เป็นต้น
                                 2.การเสริมแรงท างลบ  (Negative Reinforcement) หมายถึง การเปลี่ยนสภาพการณ์หรือเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็อาจจะทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมได้  เช่น การพูดตำหนิเพื่อให้เด็กรู้ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกไม่เหมาะสม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น