27.7.55

สัปดาห์ที่7


วันที่ 27 กรกฎาคม 2555

การนำเสนองาน
การจัดกิจกรรมเล่านิทานและเปิดVDOให้เด็กดู
พร้อมบันทึกการสังเกตและวิเคราะห์พัฒนาการ


สรุปการจัดกิจกรรม
                กลุ่มของดิฉันได้จัดกิจกรรมการเล่านิทานเล่มใหญ่เรื่องความสามัคคีของสัตว์ทั้งสี่ เด็กๆให้ความสนใจกับนิทานเล่มใหญ่ [BIG BOOK] เด็กๆสามารถจดจำตัวละครและสามารถบอกได้ว่าตัวละครตัวนั้นคือตัวอะไร เมื่อถามคำถามบางคนสามารถตอบคำถามได้  หลังจากเล่านิทานจบเด็กๆก็ยังคงสนใจในหนังสือนิทาน [BIG BOOK] เข้ามาถามคำถามพี่ๆว่าสิ่งนั้นที่อยู่ในภาพคืออะไร  เมื่อเด็กรู้คำตอบก็จะไปเล่าต่อให้เพื่อนฟัง เด็กๆแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างสนุกสนาน ผ่อนคลาย ให้ความรวมมือเต็มที่คะ


ข้อมูลที่หาเพิ่มเติม


ทฤษฎีการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์
ตามแนวคิดของ คาร์ล กุสตาฟ จุง” (Carl Gustav Jung)

                เคยไหมเวลาประชุมทีไร ลูกน้องมักไม่กล้าแสดงความเห็นสักเท่าไหร่ หรือเคยไหมที่เวลาคุณมอบหมายงานอะไรไป ลูกน้องไม่เข้าใจ แต่ก็ไม่กล้าถาม หรือเคยไหม ที่คุณได้ยินแว่วๆ มาจากคนอื่นว่าลูกน้องไม่ชอบคุณ

                สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากคุณอาจใช้รูปแบบการบริหารคนไม่ถูกต้อง คุณยังไม่ได้ทำความเข้าใจและยอมรับว่าคนต่างสไตล์ย่อมต้องการการปฏิบัติ และการปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น หากคุณยังใช้วิธีการบริหารคนแบบ one size fit all อาจเกิดปัญหาสะสม ทวีความรุนแรงขึ้นจนส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานได้ ดังนั้นเพื่อต้องการให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ว่ารูปแบบพฤติกรรมที่แตกต่างกันของคนแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง แล้วนำแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้ในการบริหารคนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์ว่าแต่ละบุคคลมี รูปแบบพฤติกรรมในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นในชีวิตประจำวันอย่างไรมาทดลองใช้กับผู้บังคับบัญชาระดับต้น หรือหัวหน้างานของสำนักงาน ก.พ.

                ในงานประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาผู้บังคับบัญชาระดับต้น หรือหัวหน้างานของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง ดังหัวข้อ ค้นพบ และเสริมศักยภาพบุคลากรซึ่งมีผู้ฟังจำนวน 100 ท่าน

                “Extended DISC” พัฒนามาจากทฤษฎีการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ตามแนวคิดของ คาร์ล กุสตาฟ จุง” (Carl Gustav Jung) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านพฤติกรรมเป็นคนแรกๆ โดยได้แบ่งรูปแบบพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ D I S C

                แต่ก่อนที่จะลงลึกในรูปแบบพฤติกรรมมนุษย์ 4 รูปแบบ D I S C ว่าคนในแต่ละรูปแบบเป็นอย่างไร อยากให้คุณลองทำแบบทดสอบเพื่อประเมินตนเองคร่าวๆ ว่า ตัวคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นสไตล์ไหนเพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์แก่ตัวคุณจริงๆ ในการนำไปปรับใช้ในการบริหารคน

24.7.55

ลงมือปฏิบัติจริงครั้งที่2


วันที่ 24 กรกฎาคม 2555 

จัดกิจกรรมเล่านิทาน BIG BOOK
เรื่องความสามัคคีของสัตว์ทั้งสี่
ณ โรงเรียนอนุบาลสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
 เวลา 8.00-8.20 น.




ประโยชน์ของการเล่านิทานให้เด็กฟัง
1. เด็ก ๆ หรือผู้ฟังจะเกิดความรู้สึกอบอุ่นหรือใกล้ชิดเป็นกันเองกับผู้เล่า
2. เด็ก ๆ หรือผู้ฟังจะเกิด ความรู้สึกร่วมในขณะฟัง ทำให้เขาเกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย และสดชื่นแจ่มใส
3. เด็ก ๆ หรือผู้ฟังจะมีสมาธิหรือความตั้งใจที่มีระยะเวลานานขึ้นหรือยาวขึ้น โดยเฉพาะผู้เล่าที่มี ความสามารถในการตรึงให้ผู้ฟังหรือเด็กๆใจจดจ่ออยู่กับเรื่องราวที่ผู้เล่าเล่าเรื่องที่มีขนาดยาว
4. เด็กหรือผู้ฟังจะถูกกล่อมเกลาด้วยนิทานที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ทำให้เด็กๆและผู้ฟังเข้าใจในความดี และความงามยิ่งขึ้น
5. นิทานจะทำให้เด็กๆ หรือผู้ฟังมีความละเอียดอ่อนรู้จักการรับและการให้ มองโลกใน  แง่ดี
6. นิทานจะทำให้เด็กหรือผู้ฟังสามารถใช้กระบวนการคิดในการพิจารณาแก้ปัญหาได้
7. นิทานสามารถสร้างความกล้าให้กับเด็ก ๆ หรือผู้ฟังโดยการแสดงออกผ่านกระบวนการคิดที่มี ประสิทธิภาพ
8. เด็กๆ และผู้ฟังจะได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์และสามารถประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้
9. นิทานช่วยเสริมสร้างจินตนาการที่กว้างไกลไร้ขอบเขตให้กับเด็กหรือผู้ฟัง
10. นิทานสามารถช่วยเด็กๆและผู้ฟังได้รู้จักการใช้ภาษาที่ถูกต้อง


สรุปได้ว่า นิทานมีคุณค่าและประโยชน์คือ เป็นวิธีการให้ความรู้ที่จะทำให้เด็กสนใจเรียนรู้ สามารถจดจำและกล้าแสดงออก ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กจากตัวแบบในนิทานที่เด็กประทับใจ สร้างสมาธิ ผ่อนคลายอารมณ์ สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้เล่าและผู้ฟัง

20.7.55

สัปดาห์ที่6


วันที่ 20 กรกฎาคม 2555

อาจารย์มอบหมายงาน

             อาจารย์ได้สั่งงานให้แบ่งกลุ่ม (จากกลุ่มเดิม)  จะมีทั้งหมด 11 กลุ่ม  โดยงานมีทั้งหมด 3 รูปแบบ ดังนี้

นิทานเล่มเล็ก    จะมี อนุบาล1, อนุบาล2, อนุบาล3, ประถม1



นิทานเล่มใหญ่  จะมี อนุบาล1, อนุบาล2, อนุบาล3, ประถม1



VDO  จะมี อนุบาล1, อนุบาล2, อนุบาล3



     โดย ให้แต่ละกลุ่มไปเล่านิทานให้เด็กฟังตามที่กลุ่มของตนได้รับมอบหมาย  จากนั้นจดบันทึกให้ละเอียดพร้อมวิเคราะห์พฤติกรรมของน้อง   เมื่อจบการเล่านิทานเพื่อนๆ  ตั้งคำถามให้น้องๆได้ร่วมตอบคำถาม  แล้วมานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป

*หมานเหตุ :: ไม่มีการเรียนการสอน

13.7.55

สัปดาห์ที่5


วันที่ 13 กรกฎาคม 2555

นำเสนองานในรูปแบบ VDO
ภาพการนำเสนองานของแต่ละกลุ่ม


                โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับหัวข้อเรื่องพัฒนาการทางภาษาของเด็กตามช่วงอายุต่างๆ ตั้งแต่แรกเกิด - 12 ปี อาจารย์แบ่งงานให้เป็น 2 รูปแบบคือ
1.บันทึกการสังเกตพัฒนาการทางภาษาของเด็กในรูปแบบ VDO
2.บันทึกการสังเกตพัฒนาการทางภาษาของเด็กในรูปแบบ รูปภาพและจดบันทึก




ข้อมูลที่หาเพิ่มเติม
                ช่วงอายุของเด็กในวัยเรียน 6-12 ปีนั้น ถือเป็นช่วงสำคัญของเด็กในการเรียนรู้ทักษะชีวิต และพัฒนาการต่างๆทางด้านสติปัญญา (higher cognitive functions) เป็นช่วงที่การทำงานของสมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเต็มที่ ดังนั้นธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัยเรียนจึงมีการเปลี่ยนแปลงและแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างเด่นชัดในแต่ละขวบปี ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

อายุ 6 ปี
                เด็กวัยนี้สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของได้ เช่น ความแตกต่างของลวดลายต่าง ๆ เข้าใจความหมายของหน้า-หลังและบน-ล่างของตัวเด็ก แต่ไม่เข้าใจระยะใกล้หรือไกลของสถานที่ เด็กวัยนี้ยังคิดถึงแต่เรื่องปัจจุบัน คิดถึงแต่เรื่องที่ตนเองพัวพันอยู่ด้วย มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมค่อนข้างสั้น สนใจการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่จะไม่สนใจความสำเร็จของกิจกรรมนั้น ๆ เด็กจะกระตือรือร้นทำงานที่ตนเองสนใจ แต่เมื่อหมดความสนใจจะเลิกทำทันที โดยไม่สนใจว่างานนั้นจะสำเร็จหรือไม่

อายุ 7 ปี
                เด็กวัยนี้จะมีความอยากรู้อยากเห็น สามารถจำเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ มีความสนใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ และจะพยายามทำให้สำเร็จ รู้จักชอบหรือไม่ชอบสิ่งนั้นสิ่งนี้ มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมยังค่อนข้างสั้น จะสนใจสิ่งต่างๆทีละอย่าง ดังนั้น ถ้ามีงานหลายอย่างให้เด็กทำ ควรจะแบ่งหรือกำหนดให้เป็นส่วน ๆ ไม่ควรให้พร้อมกันทีเดียว เพราะจะทำให้เด็กเบื่อ

อายุ 8 ปี
                เด็กวัยนี้จะมีความอยากรู้อยากเห็น สนใจซักถามมากขึ้น ชอบทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ตนไม่เคยทำมาก่อน มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมนานขึ้น มีความสนใจที่จะทำงานให้สำเร็จ มีความพิถีพิถันและรับฟังคำแนะนำในการทำงานมากขึ้น สามารถเข้าใจคำชี้แจงง่าย ๆ มีความสนใจในการเล่นต่าง ๆ สามารถแสดงละครง่าย ๆ ได้ สนใจการวาดภาพ ดูภาพยนตร์ โทรทัศน์ การ์ตูน ฟังวิทยุ และชอบนิทาน สนใจในการสะสมสิ่งของ

อายุ 9 ปี
                เด็กวัยนี้เป็นวัยที่รู้จักใช้เหตุผล สามารถตอบคำถามอย่างมีเหตุผล มีความรู้ในด้านภาษา และความรู้รอบตัวกว้างขึ้น ชอบอ่านหนังสือที่กล่าวถึงข้อเท็จจริง สามารถแก้ปัญหาและรู้จักหาเหตุผลโดยอาศัยการสังเกต ในวัยนี้ต้องการอิสรภาพเพิ่มขึ้น สนใจที่จะสะสมสิ่งของ และจะเลียนแบบการกระทำต่าง ๆ ของคนอื่น

อายุ 10 ปี
                วัยนี้เป็นวัยที่สมองกำลังพัฒนาเต็มที่ การเรียน การหาเหตุผล ความคิดและการแก้ปัญหาดีขึ้น สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง และมีการไตร่ตรองก่อนตัดสินใจ ไม่ทำอย่างหุนหันพลันแล่น มีความคิดริเริ่ม เด็กชายชอบเรียนดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เด็กหญิงจะสนใจเกี่ยวกับการเรือน การสร้างมโนภาพเกี่ยวกับเวลา แม่นยำและกว้างขวางขึ้น ทำให้สามารถศึกษาประวัติศาสตร์สำคัญ วัน เดือนปี ได้ สามารถเข้าใจสิ่งต่าง ๆได้อย่างรวดเร็ว

อายุ 11-12 ปี
                เด็กวัยนี้จะมีเพื่อนวัยเดียวกัน มีการเล่นเป็นกลุ่ม บางคนจะเริ่มแสดงความสนใจในเพศตรงข้าม สนใจกีฬาที่เล่นเป็นทีม กิจกรรมกลางแจ้ง สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก หนังสือ การ์ตูน จะมีลักษณะเป็นคนที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ๆ อาจกลายเป็นคนเจ้าอารมณ์ และชอบการวิพากษ์วิจารณ์ จะเห็นว่าความคิดเห็นของกลุ่มเพื่อนมีความสำคัญมากกว่าความคิดเห็นของผู้ใหญ่ และจะมีความกังวล เริ่มเอาใจใส่การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย  ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจและยอมรับในการเปลี่ยนแปลงของตนด้วย

ผลกระทบของสื่อต่อเด็กในวัยเรียน 
                ในยุคปัจจุบันการเรียนรู้ของเด็กได้มีการเปิดกว้างขึ้น และเข้าถึงได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน เนื่องจากวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ รวมไปถึงชนิดของสื่อ เครื่องมือ และอุปกรณ์ multimedia ต่างๆมีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆออกมา เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ และใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตามสื่อนับว่าเป็นเพียงช่องทาง หรือ เครื่องมือในการสื่อสารเท่านั้น ส่วนที่สำคัญคือเนื้อหา และ การนำเสนอของสื่อสาระที่เป็นตัวชี้วัดความเหมาะในการรับสื่อ เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังไม่มีวุฒิภาวะ และ การไตร่ตรองที่รอบคอบเพียงพอต่อการเลือกรับ หรือ เสพสื่อ ดังนั้นผลกระทบของสื่อจึงเป็นเหมือนดาสองคม ซึ่งสามารถส่งให้เกิดทั้งผลดีที่เป็นประโยชน์ และ ผลเสียที่ก่อให้เกิดโทษต่อเด็กในวัยเรียนได้เช่นกัน

ผลกระทบของสื่อต่อพัฒนาการด้านมิติสัมพันธ์
                รูปแบบของอุปกรณ์ multimedia ต่างๆในปัจจุบันถูกออกแบบให้มีการประสาทสัมผัสต่างๆพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ วีดีโอเกมส์ใหม่ๆที่ช่วยฝึกทักษะการเชื่องโยงของการใช้ประสาทสัมผัส และ การเคลื่อนไหวให้กับเด็กได้ เช่น เกมส์เต้น เกมส์เครื่องดนตรีในแบบต่างๆ (กลอง กีต้าร์ คีย์บอร์ด) ซึ่งการเล่นเกมส์ประเภทนี้เอื้อให้เกิดพัฒนาการด้านมิติสัมพันธ์ และถือว่าเป็นกิจกรรมที่ใช้เพื่อความบันเทิง ผ่อนคลายสำหรับเด็กได้ 

ผลกระทบของสื่อต่อพัฒนาการด้านสังคม และ ปฏิสัมพันธ์
                ในปัจจุบันการสื่อสารติดต่อ หรือ ทำความรู้จักผ่าน social networking ต่างๆ สามารถช่วยพัฒนาการด้านสังคม และปฏิสัมพันธ์ได้ในระดับหนึ่งถ้ามีการใช้อย่างเหมาะสม ด้วยสังคมในโลก cyber ที่เปิดกว้างและค่อนข้างไร้ข้อจำกัดสามารถเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้สังคมต่างวัฒนธรรมได้ รวมไปถึง community ต่างๆที่มีการทำกิจกรรมสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ต่อการใช้เวลาว่างเช่น web 2.0 ที่เป็น interactive website สามารถเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจให้เด็กได้แสดงออกด้านความนึกคิด และความสามารถ

ผลกระทบของสื่อต่อการเรียนรู้ด้านภาษา
 - สื่อ multimedia ในรูปแบบต่างๆสามารถเอื้อต่อพัฒนาการทางด้านภาษาให้กับเด็กในวัยเรียนได้หลากหลายวิธี
 - การดูหนัง soundtrack ที่สามารถเลือก subtitle ภาษาต่างๆได้ สามารถช่วยผึกทักษะด้านการอ่าน และความรู้ด้านคำศัพท์ การสนทนา
 - การฟังเพลงภาษาต่างชาติ สามารถช่วยการเรียนด้านประสาทการฟังและสร้างความคุ้นเคยในการออกเสียง 
 - การเล่นเกมส์ภาษา สามารถฝึกทักษะความเข้าใจในการสื่อสารผ่านการสังเกต และการตอบสนองของตัวคาแรกเตอร์ในเกมส์ โดยบางครั้งอาจเริ่มจากการไม่รู้ภาษานั้นๆเลยก็ได้

ผลกระทบของสื่อต่อการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม
                สื่อ นับว่าเป็นการนำเสนอของโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) เนื่องจากเด็กในวัยเรียนมีความอยากรู้อยากเห็น และยังมีวุฒิภาวะในการเลือกรับ และไตร่ตรองไม่เพียงพออาจส่งผลกระทบให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ โดยการเรียนรู้พฤติกรรมสำคัญต่าง ๆ ทั้งที่เสริมสร้างสังคม (Prosocial Behavior) และพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม (Antisocial Behavior) ได้เน้นความสำคัญของการเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจากตัวแบบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริง ๆ เช่น ครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์โทรทัศน์ การ์ตูน หรือจากการอ่านจากหนังสือได้ การเรียนรู้โดยการสังเกตประกอบด้วย 2 ขั้น คือ ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางพุทธิปัญญา และขั้นการกระทำ ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมีทั้งตัวแบบในชีวิตจริงและตัวแบบที่ เป็นสัญญลักษณ์ เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของผู้ใหญ่ในครอบครัว โรงเรียน สถาบันการศึกษา และผู้นำในสังคมประเทศชาติและศิลปิน ดารา บุคคลสาธารณะ ยิ่งต้องตระหนักในการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพราะย่อมมีผลต่อพฤติกรรมของเยาวชนในสังคมนั้น ๆ

ผลกระทบของสื่อต่อการเรียนรู้เชิงวิชาการ
                สื่อเป็นช่องทางในการเรียนรู้ที่เปิดกว้างและเข้าถึงได้ง่ายที่สุด เช่น สื่อโทรทัศน์เป็นช่องทางให้เด็กเข้าถึงและติดตามข่าวสารที่เป็นความรู้รอบตัว หรือ อินเตอร์เป็นช่องทางในการค้นคว้าความรู้ และวิชาการต่างๆ ในปัจจุบันที่ทักษะด้านการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ของเด็กในวัยนี้มีการพัฒนารวดเร็ว และสูงขึ้น การเรียน-การสอนผ่านอินเตอร์เน็ต (e-learning) สามารถเป็นประโยชน์ต่อเด็กได้ โดยเฉพาะในกรณีที่เด็กมีความบกพร่อง หรือ ข้อจำกัดทางร่างกายที่ลำบากต่อการเดินทาง การใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางด้านการเรียนช่วยในการลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาในการเรียนได้ รวมไปถึงเนื้อหาสาระด้านวิชาการที่เด็กสามารถค้นหาได้มากมายโดยไม่ต้องไปเรียนพิเศษ ซึ่งถือว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย




6.7.55

สัปดาห์ที่4


วันที่ 6 กรกฎาคม 2555


             
อาจารย์ให้กลับไปแก้ไขผลงาน
และให้ไปศึกษาเกี่ยวกับการนำเสนองานอย่างไรให้น่าสนใจ




             การนำเสนอและการทำ Presentation ที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้อยู่หมัด เป็นเทคนิคที่ดิฉันฉันรวบรวมประสบการณ์มาจากการนำเสนอในสถานที่ต่างๆและการเป็นผู้ฟังที่สนใจในสิ่งที่คนอื่นพูด
เทคนิคการ Present แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ๆ ดังนี้คะ

 Slide
              สไลด์ถือเป็นสิ่งที่คนฟังจะให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง เพราะมันคือสิ่งที่เราตั้งใจนำเสนอให้เขาดู สไลด์ดีก็รอด สไลด์ไม่ดีก็ล่มได้เหมือนกัน มีรายละเอียดเล็กๆ เกี่ยวกับการทำ Slide ที่น่าสนใจมาฝากกันคะ

1. Keep It Simple
            การออกแบบให้ดูเรียบง่าย คือการออกแบบที่เข้าใจง่ายที่สุด เราไม่จำเป็นต้องทำเอฟเฟคต่างๆนานา ให้วูบวาบ หมุนซ้ายทีขวาที เด้งไปเด้งกลับ บางครั้งก็เสียเวลามากเกินความจำเป็น และบางครั้งอาจถูกมองว่าเป็นสไลด์เด็กๆได้ ทางที่ดีคือ ใช้ลูกเล่นการเคลื่อนไหวแต่พอประมาณ

2. Stunning Moving Object
            อาจจะขัดกับข้อที่ 1 สักเล็กน้อย แต่มันได้ผลจริงๆ ก็คือการเคลื่อนไหวที่ไม่มาก แต่ทำให้คนทั้งห้องหยุดมองได้ มีครั้งหนึ่งที่ผมไปนั่งฟังการนำเสนอของทีมแชมป์โลกเขียนโปรแกรมของ Microsoft ปรากฎว่าสไลด์ของเขานั้นขาวสะอาดมาก มีเพียงตัวหนังสือซึ่งเป็นหัวข้อหลักๆปรากฎบนหน้าจอ แล้วเขาก็พูดๆไป จู่ๆสไลด์ของเขาก็เคลื่อนไหวได้อย่างน่าสนใจ ทั้งๆที่คิดว่าไม่มีอะไร เพียงแค่ขยับวัตถุที่เขาต้องการจะสื่อสารให้คนดูออกมาให้เด่นชัดเพียงชิ้นเดียว ไม่ต้องเคลื่อนไหวทั้งสไลด์ ก็ทำให้คนเปลี่ยนความสนใจไปที่วัตถุชิ้นนั้นได้ทันที

3. Clean
            สไลด์สีขาว สะอาดและสวยกว่าสไลด์สีดำ และดูค่อนข้างเป็นทางการกว่า แต่ก็แล้วแต่ความเหมาะสมในการใช้งานด้วย ความสะอาดของสไลด์ที่ว่านี่คือ ไม่บดบังตัวอักษร อ่านง่าย ไม่มึนไม่งง บางครั้งที่ผมเห็นคือ พื้นหลังที่เป็นรูปแปลกๆ ซึ่งอาจเป็นรูปวิว หรือสิ่งของ ที่ทำให้การอ่านตัวอักษรบนสไลด์นั้นเป็นเรื่องยากและพาลทำให้คนฟังเลิกสนใจได้

4. Information
            อย่าเยอะคะ ใช่! อย่าเยอะ อย่าใส่ข้อมูลเยอะเกินไป บางครั้งข้อมูลที่เราจะพูด เราไม่ต้องใส่ลงไปในสไลด์ทั้งหมดก็ได้ เราใส่แค่หัวข้อหรือสรุปใจความสำคัญเท่านั้นก็เพียงพอ และ ข้อแนะนำก็คือ การทำสไลด์สำหรับ Presentation ควรเป็นข้อมูลที่สรุปมาแล้ว ไม่ใช่ข้อมูลดิบให้คนมานั่งทำความเข้าใจไปพร้อมกับเรา สิ่งที่เราควรจะนำเสนอคือสิ่งที่เราต้องการเสนอจริงๆ เผื่อคนฟังตีความผิดไปจากข้อมูลทั้งหมด เราก็จะสื่อสารได้ไม่ตรงจุดอีก

5. Photo represent million words
            การใส่รูปภาพเข้าไปในสไลด์ เป็นการดึงจุดสนใจของผู้ฟังได้มาก รวมถึงการใส่วีดีโอคลิปหรือคลิปเสียงด้วย ลำพังข้อความที่เพ่นพ่านบนหน้าจอก็ทำให้น่าเบื่อน่ารำคาญแล้ว แต่ถ้าหากมีรูปภาพที่เกี่ยวข้อง (ขอเน้นย้ำว่า รูปภาพที่เกี่ยวข้อง) มาประกอบด้วย ก็จะทำให้ดูน่าสนใจขึ้น
ที่เน้นย้ำว่ารูปภาพที่เกี่ยวข้อง ก็คือรูปภาพที่เราสามารถอธิบายและเชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้จริงๆ เช่น ไม่ใช่พูดถึงบุคลากร เราก็เอารูปการ์ตูนที่เป็นรูปคนสองคนยืนยิ้ม มาแปะโชว์ข้างๆ ก็กลายเป็นสไลด์เด็กๆ อีกแล้ว


Human
อีกหนึ่งส่วนสำคัญก็คือผู้พูด ที่จะเป็นตัวแทน ส่งความรู้ทั้งหมดจาก Slide ไปให้กับผู้ฟัง

1. เสียงดัง ฟังชัด พูดช้า
            เป็นปัญหามาหลายครั้งแล้ว กับผู้พูดที่เสียงเบา พูดไม่ชัดเจน และพูดเร็วเกินไป ทำให้คนฟังจับใจความไม่ทัน ฟังไม่รู้เรื่อง และก็ทำให้การนำเสนอในครั้งนั้นกลายเป็นเรื่องตลก ผู้พูดควรตั้งสติ ค่อยๆพูด ค่อยๆจา ใช้เวลาอย่างเต็มที่

2. เตรียมการพูด
            เรามีสไลด์ แต่แน่นอนเราคงไม่ออกไปพูดสดๆ หน้าห้องในการนำเสนอครั้งนั้น เราต้องมีการเตรียมตัวว่า พอขึ้นหน้าแรก เราจะพูดว่าอะไร พอจบหน้าแรก เราจะพูดว่าอะไรเพื่อปูทางไปสู่หน้าที่สอง เป็นต้น และควรหาประโยคเด็ดๆที่ฟังแล้วทุกคนจะต้องทึ่งเอาไว้ ไม่แน่ หากประโยคนั้นของเราทำให้เกิดเสียงปรบมือ นั่นก็ทำให้ความน่าสนใจกลับมา และเป็นที่จดจำของผู้ฟัง และที่สำคัญ ไม่อ่านตามสไลด์ คนที่สำคัญที่สุดเวลานั้นคือคนฟัง ไม่ใช่สไลด์ เราต้องมองคนฟัง ให้คนฟังมี interactive กับเราให้เยอะที่สุด (ช่วยได้ด้วยการ ทำให้สไลด์มีข้อมูลน้อยๆ 555)

3. ภาษากาย 
            ใจเย็น ! บางครั้งการพูดก็ทำให้เราลืมเนื้อลืมตัว เดินไปเดินมา ส่ายแขนเขย่าขา โบกไม้สะบัดมือได้เหมือนๆการนั่งสัมภาษณ์งานนั่นแหละ หนทางที่ดีคือ ควบคุมสติ แล้วคิดว่า ผู้ฟังควรจะมองเราในมุมมองไหน วางตัวให้สุขุม น่าเชื่อถือ หรือสนุกสนานไปกับการนำเสนอเพื่อดึงความสนใจ และการดึงความสนใจเกี่ยวกับการแสดงออกทางกายที่อยู่หมัดจริงๆก็คือ การเดินเข้าไปหาผู้ฟัง ผมเคยถือไมค์ลอยอยู่หน้าห้องประชุมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ฉันเดินลงมาแล้วเดินเข้าไปท่ามกลางนักเรียนเลย จะมีทั้งกลุ่มที่ตั้งใจฟังและไม่ตั้งใจฟัง (ซึ่งเป็นเรื่องปกติ) หนทางของเราคือเดินเข้าไปถามคำถาม หรือให้เขามีส่วนร่วมในกิจกรรมเล็กๆน้อยๆที่เราจัดขึ้น (แน่นอน ถ้าเราจัด แสดงว่าเราอยากแจก) นั่นอาจเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับผู้ฟังได้อีกทางหนึ่ง หลังงานอาจจะมีการหยอกล้อแซวกันเล็กๆน้อยๆ ก็มองเป็นเรื่องสนุกๆไป แต่ที่สำคัญคือ ผู้ฟัง จดจำการนำเสนอของเราได้แน่นอน

4. อย่าอาย
            อย่าอาย ถ้าการพูดของเราผิด เราต้องกล้าพูดคำว่าขอโทษทันทีที่พูดผิด เพื่อแก้ไขในสิ่งที่พูดไปให้ถูกต้องอย่างทันท่วงที และอย่าอาย ถ้าเราต้องพูดบางประโยค ในการนำเสนอหรือการพูดต่อหน้าผู้คนบางครั้ง เราต้องเลียนเสียงของสิ่งต่างๆ เพื่ออรรถรสของการฟังที่สมบูรณ์แบบและน่าสนใจ เช่น การเลียนเสียงบุคคลอื่น การเลียนเสียงธรรมชาติ อย่าอายที่จะทำ เพราะถ้าเราต้องทำแต่เราอาย นั่นทำให้การพูดครั้งนั้นล่มแน่นอน จงพูดและสื่อสารสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ ไปให้ถึงผู้ฟังให้ได้ และการเลียนเสียงนี้เองที่ทำให้ประสบกับปัญหาพูดเร็วอีกครั้ง เพราะเราจะไม่ชินในเนื้อเสียงพิสดารของเรา

5. แน่น
            คนพูดต้องแน่นเนื้อหาที่ทำมาพูดอย่างถ่องแท้จริงจัง ถามอะไรตอบได้ อธิบายอะไรก็อธิบายได้หมด ทำให้ไม่พูดตะกุกตะกักหรือเกิดการลังเล เช่นการพูดนำเสนองานกลุ่ม บางคนไม่รู้อะไรในกลุ่มเลย บางคนรู้แค่ส่วนของตัวเอง นั่นอาจทำให้การนำเสนอเป็นหายนะได้ !!


Preparation

การเตรียมพร้อมนั้น มีเทคนิคที่น่าสนใจอยู่นิดหน่อย
1. เตรียมคำพูดก่อนสไลด์
            เวลาเปิดสไลด์แรก อาจจะเป็นการนำเสนอปูทาง ก่อนจะเข้าเนื้อหาหลักๆ และแน่นอนคือ ทุกคนฟังสไลด์แรกอย่างตั้งใจ ก่อนที่จะเปิดสไลด์ต่อไป เราควรเตรียมคำพูดเกี่ยวกับสไลด์นั้นๆ แล้วพูดเกริ่นออกมาก่อน เพื่อปูทางให้ผู้ฟังเห็นว่าเราจะสื่ออะไร เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เราค่อยเปิดสไลด์ต่อไปให้เขาดู ทำอย่างนี้ไปเรื่องๆ ความน่าสนใจจะมีอยู่ตลอดเวลา ผู้ฟังจะสนใจและสงสัยว่าผู้พูดกำลังพูดถึงเรื่องอะไร และไม่มีสิ่งที่ทำให้เบี่ยงเบนความสนใจได้ พูดเกริ่นก่อนสไลด์จะมา ช่วงนี้แหละที่ผู้ฟังจะมองผู้พูด ไม่ได้มองสไลด์

2. จดหรือท่อง
            ใครที่ยังไม่เซียนนัก ดิฉันเองก็ยังไม่เซียน ฉันใช้วิธีจดเรียงเป็นหน้าๆไปว่า หน้านี้คือเรื่องอะไร หน้าต่อไปคือเรื่องอะไร ควรพูดอะไรบ้างในหน้าไหน ประโยคเด็ดพูดหน้าไหน พูดเกริ่นหน้าถัดไปว่าอย่างไร เป็นต้น การจดบันทึกทำให้เราเรียบเรียงความคิดที่กระจัดกระจายในสมอง มาให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอีกครั้ง เพื่อไม่ให้หลงลืมบางประเด็นที่ควรพูดไป และเป็นการสรุปใจความของเนื้อหาต่างๆ เพื่อการพูดอย่างต่อเนื่องไม่สะดุด

             เป็นหลักคร่าวๆที่จะทำให้การนำเสนอของคุณเป็นที่น่าสนใจ จากผู้ฟังทั่วไป หรือผู้ฟังคนสำคัญอย่างคณะกรรมการ อาจารย์ นอกจากจะใช้ในการนำเสนองานแล้ว สามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับการพูดในคนหมู่มากได้ด้วย เราสามารถยืนกลางวงใหญ่ๆ แล้วพูดให้ทุกคนฟังอย่างเข้าใจ และน่าจดจำได้เหมือนกัน
             
             แต่สุดท้ายมันก็เป็นเพียงมุมมองหนึ่งจากดิฉัน ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นำคนในบางโอกาส ได้พูดก็มากหน่อย ที่สะสมประสบการณ์การพูดและการฟัง เอามาเขียนแบ่งปันให้หลายๆคนรู้กัน เห็นหลายๆคนยังตื่นเต้นที่ยืนหน้าห้องอยู่เลย อย่าตื่นเต้นครับ เวทีเป็นของเราแล้ว หน้าที่ของเราก็คือ ทำให้คนฟังจดจำใน แต่อยู่ที่ว่า เขาจะจดจำคุณในรูปแบบไหนเท่านั้นเอง

*อ้างอิง :: nearonline.net
*หมายเหตุ :: ไม่มีการเรียนการสอน