วันที่ 13 กรกฎาคม
2555
นำเสนองานในรูปแบบ VDO
ภาพการนำเสนองานของแต่ละกลุ่ม
โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับหัวข้อเรื่องพัฒนาการทางภาษาของเด็กตามช่วงอายุต่างๆ
ตั้งแต่แรกเกิด - 12 ปี อาจารย์แบ่งงานให้เป็น 2 รูปแบบคือ
1.บันทึกการสังเกตพัฒนาการทางภาษาของเด็กในรูปแบบ VDO
2.บันทึกการสังเกตพัฒนาการทางภาษาของเด็กในรูปแบบ รูปภาพและจดบันทึก
ข้อมูลที่หาเพิ่มเติม
ช่วงอายุของเด็กในวัยเรียน
6-12 ปีนั้น
ถือเป็นช่วงสำคัญของเด็กในการเรียนรู้ทักษะชีวิต และพัฒนาการต่างๆทางด้านสติปัญญา
(higher cognitive functions) เป็นช่วงที่การทำงานของสมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเต็มที่
ดังนั้นธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัยเรียนจึงมีการเปลี่ยนแปลงและแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างเด่นชัดในแต่ละขวบปี
ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
อายุ 6 ปี
เด็กวัยนี้สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของได้
เช่น ความแตกต่างของลวดลายต่าง ๆ เข้าใจความหมายของหน้า-หลังและบน-ล่างของตัวเด็ก
แต่ไม่เข้าใจระยะใกล้หรือไกลของสถานที่ เด็กวัยนี้ยังคิดถึงแต่เรื่องปัจจุบัน
คิดถึงแต่เรื่องที่ตนเองพัวพันอยู่ด้วย มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมค่อนข้างสั้น
สนใจการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่จะไม่สนใจความสำเร็จของกิจกรรมนั้น ๆ
เด็กจะกระตือรือร้นทำงานที่ตนเองสนใจ แต่เมื่อหมดความสนใจจะเลิกทำทันที
โดยไม่สนใจว่างานนั้นจะสำเร็จหรือไม่
อายุ 7 ปี
เด็กวัยนี้จะมีความอยากรู้อยากเห็น
สามารถจำเหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ มีความสนใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ
และจะพยายามทำให้สำเร็จ รู้จักชอบหรือไม่ชอบสิ่งนั้นสิ่งนี้ มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมยังค่อนข้างสั้น
จะสนใจสิ่งต่างๆทีละอย่าง ดังนั้น ถ้ามีงานหลายอย่างให้เด็กทำ
ควรจะแบ่งหรือกำหนดให้เป็นส่วน ๆ ไม่ควรให้พร้อมกันทีเดียว เพราะจะทำให้เด็กเบื่อ
อายุ 8 ปี
เด็กวัยนี้จะมีความอยากรู้อยากเห็น
สนใจซักถามมากขึ้น ชอบทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ตนไม่เคยทำมาก่อน
มีสมาธิจดจ่อกับกิจกรรมนานขึ้น มีความสนใจที่จะทำงานให้สำเร็จ
มีความพิถีพิถันและรับฟังคำแนะนำในการทำงานมากขึ้น สามารถเข้าใจคำชี้แจงง่าย ๆ
มีความสนใจในการเล่นต่าง ๆ สามารถแสดงละครง่าย ๆ ได้ สนใจการวาดภาพ ดูภาพยนตร์
โทรทัศน์ การ์ตูน ฟังวิทยุ และชอบนิทาน สนใจในการสะสมสิ่งของ
อายุ 9 ปี
เด็กวัยนี้เป็นวัยที่รู้จักใช้เหตุผล
สามารถตอบคำถามอย่างมีเหตุผล มีความรู้ในด้านภาษา และความรู้รอบตัวกว้างขึ้น
ชอบอ่านหนังสือที่กล่าวถึงข้อเท็จจริง
สามารถแก้ปัญหาและรู้จักหาเหตุผลโดยอาศัยการสังเกต
ในวัยนี้ต้องการอิสรภาพเพิ่มขึ้น สนใจที่จะสะสมสิ่งของ และจะเลียนแบบการกระทำต่าง
ๆ ของคนอื่น
อายุ 10 ปี
วัยนี้เป็นวัยที่สมองกำลังพัฒนาเต็มที่
การเรียน การหาเหตุผล ความคิดและการแก้ปัญหาดีขึ้น สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง
และมีการไตร่ตรองก่อนตัดสินใจ ไม่ทำอย่างหุนหันพลันแล่น มีความคิดริเริ่ม
เด็กชายชอบเรียนดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เด็กหญิงจะสนใจเกี่ยวกับการเรือน
การสร้างมโนภาพเกี่ยวกับเวลา แม่นยำและกว้างขวางขึ้น
ทำให้สามารถศึกษาประวัติศาสตร์สำคัญ วัน เดือนปี ได้ สามารถเข้าใจสิ่งต่าง
ๆได้อย่างรวดเร็ว
อายุ 11-12 ปี
เด็กวัยนี้จะมีเพื่อนวัยเดียวกัน
มีการเล่นเป็นกลุ่ม บางคนจะเริ่มแสดงความสนใจในเพศตรงข้าม สนใจกีฬาที่เล่นเป็นทีม
กิจกรรมกลางแจ้ง สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก หนังสือ การ์ตูน
จะมีลักษณะเป็นคนที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ๆ อาจกลายเป็นคนเจ้าอารมณ์
และชอบการวิพากษ์วิจารณ์
จะเห็นว่าความคิดเห็นของกลุ่มเพื่อนมีความสำคัญมากกว่าความคิดเห็นของผู้ใหญ่
และจะมีความกังวล เริ่มเอาใจใส่การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจและยอมรับในการเปลี่ยนแปลงของตนด้วย
ผลกระทบของสื่อต่อเด็กในวัยเรียน
ในยุคปัจจุบันการเรียนรู้ของเด็กได้มีการเปิดกว้างขึ้น
และเข้าถึงได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน เนื่องจากวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ
รวมไปถึงชนิดของสื่อ เครื่องมือ และอุปกรณ์ multimedia ต่างๆมีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆออกมา เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ และใช้ประโยชน์
อย่างไรก็ตามสื่อนับว่าเป็นเพียงช่องทาง หรือ เครื่องมือในการสื่อสารเท่านั้น
ส่วนที่สำคัญคือเนื้อหา และ
การนำเสนอของสื่อสาระที่เป็นตัวชี้วัดความเหมาะในการรับสื่อ
เนื่องจากเด็กในวัยนี้ยังไม่มีวุฒิภาวะ และ
การไตร่ตรองที่รอบคอบเพียงพอต่อการเลือกรับ หรือ เสพสื่อ
ดังนั้นผลกระทบของสื่อจึงเป็นเหมือนดาสองคม
ซึ่งสามารถส่งให้เกิดทั้งผลดีที่เป็นประโยชน์ และ
ผลเสียที่ก่อให้เกิดโทษต่อเด็กในวัยเรียนได้เช่นกัน
ผลกระทบของสื่อต่อพัฒนาการด้านมิติสัมพันธ์
รูปแบบของอุปกรณ์ multimedia ต่างๆในปัจจุบันถูกออกแบบให้มีการประสาทสัมผัสต่างๆพร้อมกัน
ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์
วีดีโอเกมส์ใหม่ๆที่ช่วยฝึกทักษะการเชื่องโยงของการใช้ประสาทสัมผัส และ
การเคลื่อนไหวให้กับเด็กได้ เช่น เกมส์เต้น เกมส์เครื่องดนตรีในแบบต่างๆ (กลอง
กีต้าร์ คีย์บอร์ด) ซึ่งการเล่นเกมส์ประเภทนี้เอื้อให้เกิดพัฒนาการด้านมิติสัมพันธ์
และถือว่าเป็นกิจกรรมที่ใช้เพื่อความบันเทิง ผ่อนคลายสำหรับเด็กได้
ผลกระทบของสื่อต่อพัฒนาการด้านสังคม
และ ปฏิสัมพันธ์
ในปัจจุบันการสื่อสารติดต่อ หรือ ทำความรู้จักผ่าน social
networking ต่างๆ สามารถช่วยพัฒนาการด้านสังคม
และปฏิสัมพันธ์ได้ในระดับหนึ่งถ้ามีการใช้อย่างเหมาะสม ด้วยสังคมในโลก cyber
ที่เปิดกว้างและค่อนข้างไร้ข้อจำกัดสามารถเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้สังคมต่างวัฒนธรรมได้
รวมไปถึง community ต่างๆที่มีการทำกิจกรรมสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ต่อการใช้เวลาว่างเช่น
web 2.0 ที่เป็น interactive website สามารถเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจให้เด็กได้แสดงออกด้านความนึกคิด
และความสามารถ
ผลกระทบของสื่อต่อการเรียนรู้ด้านภาษา
- สื่อ
multimedia ในรูปแบบต่างๆสามารถเอื้อต่อพัฒนาการทางด้านภาษาให้กับเด็กในวัยเรียนได้หลากหลายวิธี
- การดูหนัง
soundtrack ที่สามารถเลือก subtitle ภาษาต่างๆได้ สามารถช่วยผึกทักษะด้านการอ่าน และความรู้ด้านคำศัพท์
การสนทนา
- การฟังเพลงภาษาต่างชาติ
สามารถช่วยการเรียนด้านประสาทการฟังและสร้างความคุ้นเคยในการออกเสียง
- การเล่นเกมส์ภาษา
สามารถฝึกทักษะความเข้าใจในการสื่อสารผ่านการสังเกต
และการตอบสนองของตัวคาแรกเตอร์ในเกมส์
โดยบางครั้งอาจเริ่มจากการไม่รู้ภาษานั้นๆเลยก็ได้
ผลกระทบของสื่อต่อการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม
สื่อ นับว่าเป็นการนำเสนอของโลกเสมือนจริง (Virtual Reality)
เนื่องจากเด็กในวัยเรียนมีความอยากรู้อยากเห็น
และยังมีวุฒิภาวะในการเลือกรับ
และไตร่ตรองไม่เพียงพออาจส่งผลกระทบให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้
โดยการเรียนรู้พฤติกรรมสำคัญต่าง ๆ ทั้งที่เสริมสร้างสังคม (Prosocial
Behavior) และพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม (Antisocial
Behavior) ได้เน้นความสำคัญของการเรียนรู้แบบการสังเกตหรือเลียนแบบจากตัวแบบ
ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งตัวบุคคลจริง ๆ เช่น ครู เพื่อน หรือจากภาพยนตร์โทรทัศน์
การ์ตูน หรือจากการอ่านจากหนังสือได้ การเรียนรู้โดยการสังเกตประกอบด้วย 2 ขั้น คือ ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางพุทธิปัญญา
และขั้นการกระทำ
ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมีทั้งตัวแบบในชีวิตจริงและตัวแบบที่
เป็นสัญญลักษณ์ เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของผู้ใหญ่ในครอบครัว โรงเรียน สถาบันการศึกษา
และผู้นำในสังคมประเทศชาติและศิลปิน ดารา บุคคลสาธารณะ
ยิ่งต้องตระหนักในการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ
เพราะย่อมมีผลต่อพฤติกรรมของเยาวชนในสังคมนั้น ๆ
ผลกระทบของสื่อต่อการเรียนรู้เชิงวิชาการ
สื่อเป็นช่องทางในการเรียนรู้ที่เปิดกว้างและเข้าถึงได้ง่ายที่สุด
เช่น สื่อโทรทัศน์เป็นช่องทางให้เด็กเข้าถึงและติดตามข่าวสารที่เป็นความรู้รอบตัว
หรือ อินเตอร์เป็นช่องทางในการค้นคว้าความรู้ และวิชาการต่างๆ
ในปัจจุบันที่ทักษะด้านการใช้เครื่องมือคอมพิวเตอร์ของเด็กในวัยนี้มีการพัฒนารวดเร็ว
และสูงขึ้น การเรียน-การสอนผ่านอินเตอร์เน็ต (e-learning) สามารถเป็นประโยชน์ต่อเด็กได้
โดยเฉพาะในกรณีที่เด็กมีความบกพร่อง หรือ ข้อจำกัดทางร่างกายที่ลำบากต่อการเดินทาง
การใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางด้านการเรียนช่วยในการลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาในการเรียนได้
รวมไปถึงเนื้อหาสาระด้านวิชาการที่เด็กสามารถค้นหาได้มากมายโดยไม่ต้องไปเรียนพิเศษ
ซึ่งถือว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น