6.7.55

สัปดาห์ที่4


วันที่ 6 กรกฎาคม 2555


             
อาจารย์ให้กลับไปแก้ไขผลงาน
และให้ไปศึกษาเกี่ยวกับการนำเสนองานอย่างไรให้น่าสนใจ




             การนำเสนอและการทำ Presentation ที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ฟังได้อยู่หมัด เป็นเทคนิคที่ดิฉันฉันรวบรวมประสบการณ์มาจากการนำเสนอในสถานที่ต่างๆและการเป็นผู้ฟังที่สนใจในสิ่งที่คนอื่นพูด
เทคนิคการ Present แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ๆ ดังนี้คะ

 Slide
              สไลด์ถือเป็นสิ่งที่คนฟังจะให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง เพราะมันคือสิ่งที่เราตั้งใจนำเสนอให้เขาดู สไลด์ดีก็รอด สไลด์ไม่ดีก็ล่มได้เหมือนกัน มีรายละเอียดเล็กๆ เกี่ยวกับการทำ Slide ที่น่าสนใจมาฝากกันคะ

1. Keep It Simple
            การออกแบบให้ดูเรียบง่าย คือการออกแบบที่เข้าใจง่ายที่สุด เราไม่จำเป็นต้องทำเอฟเฟคต่างๆนานา ให้วูบวาบ หมุนซ้ายทีขวาที เด้งไปเด้งกลับ บางครั้งก็เสียเวลามากเกินความจำเป็น และบางครั้งอาจถูกมองว่าเป็นสไลด์เด็กๆได้ ทางที่ดีคือ ใช้ลูกเล่นการเคลื่อนไหวแต่พอประมาณ

2. Stunning Moving Object
            อาจจะขัดกับข้อที่ 1 สักเล็กน้อย แต่มันได้ผลจริงๆ ก็คือการเคลื่อนไหวที่ไม่มาก แต่ทำให้คนทั้งห้องหยุดมองได้ มีครั้งหนึ่งที่ผมไปนั่งฟังการนำเสนอของทีมแชมป์โลกเขียนโปรแกรมของ Microsoft ปรากฎว่าสไลด์ของเขานั้นขาวสะอาดมาก มีเพียงตัวหนังสือซึ่งเป็นหัวข้อหลักๆปรากฎบนหน้าจอ แล้วเขาก็พูดๆไป จู่ๆสไลด์ของเขาก็เคลื่อนไหวได้อย่างน่าสนใจ ทั้งๆที่คิดว่าไม่มีอะไร เพียงแค่ขยับวัตถุที่เขาต้องการจะสื่อสารให้คนดูออกมาให้เด่นชัดเพียงชิ้นเดียว ไม่ต้องเคลื่อนไหวทั้งสไลด์ ก็ทำให้คนเปลี่ยนความสนใจไปที่วัตถุชิ้นนั้นได้ทันที

3. Clean
            สไลด์สีขาว สะอาดและสวยกว่าสไลด์สีดำ และดูค่อนข้างเป็นทางการกว่า แต่ก็แล้วแต่ความเหมาะสมในการใช้งานด้วย ความสะอาดของสไลด์ที่ว่านี่คือ ไม่บดบังตัวอักษร อ่านง่าย ไม่มึนไม่งง บางครั้งที่ผมเห็นคือ พื้นหลังที่เป็นรูปแปลกๆ ซึ่งอาจเป็นรูปวิว หรือสิ่งของ ที่ทำให้การอ่านตัวอักษรบนสไลด์นั้นเป็นเรื่องยากและพาลทำให้คนฟังเลิกสนใจได้

4. Information
            อย่าเยอะคะ ใช่! อย่าเยอะ อย่าใส่ข้อมูลเยอะเกินไป บางครั้งข้อมูลที่เราจะพูด เราไม่ต้องใส่ลงไปในสไลด์ทั้งหมดก็ได้ เราใส่แค่หัวข้อหรือสรุปใจความสำคัญเท่านั้นก็เพียงพอ และ ข้อแนะนำก็คือ การทำสไลด์สำหรับ Presentation ควรเป็นข้อมูลที่สรุปมาแล้ว ไม่ใช่ข้อมูลดิบให้คนมานั่งทำความเข้าใจไปพร้อมกับเรา สิ่งที่เราควรจะนำเสนอคือสิ่งที่เราต้องการเสนอจริงๆ เผื่อคนฟังตีความผิดไปจากข้อมูลทั้งหมด เราก็จะสื่อสารได้ไม่ตรงจุดอีก

5. Photo represent million words
            การใส่รูปภาพเข้าไปในสไลด์ เป็นการดึงจุดสนใจของผู้ฟังได้มาก รวมถึงการใส่วีดีโอคลิปหรือคลิปเสียงด้วย ลำพังข้อความที่เพ่นพ่านบนหน้าจอก็ทำให้น่าเบื่อน่ารำคาญแล้ว แต่ถ้าหากมีรูปภาพที่เกี่ยวข้อง (ขอเน้นย้ำว่า รูปภาพที่เกี่ยวข้อง) มาประกอบด้วย ก็จะทำให้ดูน่าสนใจขึ้น
ที่เน้นย้ำว่ารูปภาพที่เกี่ยวข้อง ก็คือรูปภาพที่เราสามารถอธิบายและเชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้จริงๆ เช่น ไม่ใช่พูดถึงบุคลากร เราก็เอารูปการ์ตูนที่เป็นรูปคนสองคนยืนยิ้ม มาแปะโชว์ข้างๆ ก็กลายเป็นสไลด์เด็กๆ อีกแล้ว


Human
อีกหนึ่งส่วนสำคัญก็คือผู้พูด ที่จะเป็นตัวแทน ส่งความรู้ทั้งหมดจาก Slide ไปให้กับผู้ฟัง

1. เสียงดัง ฟังชัด พูดช้า
            เป็นปัญหามาหลายครั้งแล้ว กับผู้พูดที่เสียงเบา พูดไม่ชัดเจน และพูดเร็วเกินไป ทำให้คนฟังจับใจความไม่ทัน ฟังไม่รู้เรื่อง และก็ทำให้การนำเสนอในครั้งนั้นกลายเป็นเรื่องตลก ผู้พูดควรตั้งสติ ค่อยๆพูด ค่อยๆจา ใช้เวลาอย่างเต็มที่

2. เตรียมการพูด
            เรามีสไลด์ แต่แน่นอนเราคงไม่ออกไปพูดสดๆ หน้าห้องในการนำเสนอครั้งนั้น เราต้องมีการเตรียมตัวว่า พอขึ้นหน้าแรก เราจะพูดว่าอะไร พอจบหน้าแรก เราจะพูดว่าอะไรเพื่อปูทางไปสู่หน้าที่สอง เป็นต้น และควรหาประโยคเด็ดๆที่ฟังแล้วทุกคนจะต้องทึ่งเอาไว้ ไม่แน่ หากประโยคนั้นของเราทำให้เกิดเสียงปรบมือ นั่นก็ทำให้ความน่าสนใจกลับมา และเป็นที่จดจำของผู้ฟัง และที่สำคัญ ไม่อ่านตามสไลด์ คนที่สำคัญที่สุดเวลานั้นคือคนฟัง ไม่ใช่สไลด์ เราต้องมองคนฟัง ให้คนฟังมี interactive กับเราให้เยอะที่สุด (ช่วยได้ด้วยการ ทำให้สไลด์มีข้อมูลน้อยๆ 555)

3. ภาษากาย 
            ใจเย็น ! บางครั้งการพูดก็ทำให้เราลืมเนื้อลืมตัว เดินไปเดินมา ส่ายแขนเขย่าขา โบกไม้สะบัดมือได้เหมือนๆการนั่งสัมภาษณ์งานนั่นแหละ หนทางที่ดีคือ ควบคุมสติ แล้วคิดว่า ผู้ฟังควรจะมองเราในมุมมองไหน วางตัวให้สุขุม น่าเชื่อถือ หรือสนุกสนานไปกับการนำเสนอเพื่อดึงความสนใจ และการดึงความสนใจเกี่ยวกับการแสดงออกทางกายที่อยู่หมัดจริงๆก็คือ การเดินเข้าไปหาผู้ฟัง ผมเคยถือไมค์ลอยอยู่หน้าห้องประชุมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ฉันเดินลงมาแล้วเดินเข้าไปท่ามกลางนักเรียนเลย จะมีทั้งกลุ่มที่ตั้งใจฟังและไม่ตั้งใจฟัง (ซึ่งเป็นเรื่องปกติ) หนทางของเราคือเดินเข้าไปถามคำถาม หรือให้เขามีส่วนร่วมในกิจกรรมเล็กๆน้อยๆที่เราจัดขึ้น (แน่นอน ถ้าเราจัด แสดงว่าเราอยากแจก) นั่นอาจเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรากับผู้ฟังได้อีกทางหนึ่ง หลังงานอาจจะมีการหยอกล้อแซวกันเล็กๆน้อยๆ ก็มองเป็นเรื่องสนุกๆไป แต่ที่สำคัญคือ ผู้ฟัง จดจำการนำเสนอของเราได้แน่นอน

4. อย่าอาย
            อย่าอาย ถ้าการพูดของเราผิด เราต้องกล้าพูดคำว่าขอโทษทันทีที่พูดผิด เพื่อแก้ไขในสิ่งที่พูดไปให้ถูกต้องอย่างทันท่วงที และอย่าอาย ถ้าเราต้องพูดบางประโยค ในการนำเสนอหรือการพูดต่อหน้าผู้คนบางครั้ง เราต้องเลียนเสียงของสิ่งต่างๆ เพื่ออรรถรสของการฟังที่สมบูรณ์แบบและน่าสนใจ เช่น การเลียนเสียงบุคคลอื่น การเลียนเสียงธรรมชาติ อย่าอายที่จะทำ เพราะถ้าเราต้องทำแต่เราอาย นั่นทำให้การพูดครั้งนั้นล่มแน่นอน จงพูดและสื่อสารสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ ไปให้ถึงผู้ฟังให้ได้ และการเลียนเสียงนี้เองที่ทำให้ประสบกับปัญหาพูดเร็วอีกครั้ง เพราะเราจะไม่ชินในเนื้อเสียงพิสดารของเรา

5. แน่น
            คนพูดต้องแน่นเนื้อหาที่ทำมาพูดอย่างถ่องแท้จริงจัง ถามอะไรตอบได้ อธิบายอะไรก็อธิบายได้หมด ทำให้ไม่พูดตะกุกตะกักหรือเกิดการลังเล เช่นการพูดนำเสนองานกลุ่ม บางคนไม่รู้อะไรในกลุ่มเลย บางคนรู้แค่ส่วนของตัวเอง นั่นอาจทำให้การนำเสนอเป็นหายนะได้ !!


Preparation

การเตรียมพร้อมนั้น มีเทคนิคที่น่าสนใจอยู่นิดหน่อย
1. เตรียมคำพูดก่อนสไลด์
            เวลาเปิดสไลด์แรก อาจจะเป็นการนำเสนอปูทาง ก่อนจะเข้าเนื้อหาหลักๆ และแน่นอนคือ ทุกคนฟังสไลด์แรกอย่างตั้งใจ ก่อนที่จะเปิดสไลด์ต่อไป เราควรเตรียมคำพูดเกี่ยวกับสไลด์นั้นๆ แล้วพูดเกริ่นออกมาก่อน เพื่อปูทางให้ผู้ฟังเห็นว่าเราจะสื่ออะไร เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เราค่อยเปิดสไลด์ต่อไปให้เขาดู ทำอย่างนี้ไปเรื่องๆ ความน่าสนใจจะมีอยู่ตลอดเวลา ผู้ฟังจะสนใจและสงสัยว่าผู้พูดกำลังพูดถึงเรื่องอะไร และไม่มีสิ่งที่ทำให้เบี่ยงเบนความสนใจได้ พูดเกริ่นก่อนสไลด์จะมา ช่วงนี้แหละที่ผู้ฟังจะมองผู้พูด ไม่ได้มองสไลด์

2. จดหรือท่อง
            ใครที่ยังไม่เซียนนัก ดิฉันเองก็ยังไม่เซียน ฉันใช้วิธีจดเรียงเป็นหน้าๆไปว่า หน้านี้คือเรื่องอะไร หน้าต่อไปคือเรื่องอะไร ควรพูดอะไรบ้างในหน้าไหน ประโยคเด็ดพูดหน้าไหน พูดเกริ่นหน้าถัดไปว่าอย่างไร เป็นต้น การจดบันทึกทำให้เราเรียบเรียงความคิดที่กระจัดกระจายในสมอง มาให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนอีกครั้ง เพื่อไม่ให้หลงลืมบางประเด็นที่ควรพูดไป และเป็นการสรุปใจความของเนื้อหาต่างๆ เพื่อการพูดอย่างต่อเนื่องไม่สะดุด

             เป็นหลักคร่าวๆที่จะทำให้การนำเสนอของคุณเป็นที่น่าสนใจ จากผู้ฟังทั่วไป หรือผู้ฟังคนสำคัญอย่างคณะกรรมการ อาจารย์ นอกจากจะใช้ในการนำเสนองานแล้ว สามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับการพูดในคนหมู่มากได้ด้วย เราสามารถยืนกลางวงใหญ่ๆ แล้วพูดให้ทุกคนฟังอย่างเข้าใจ และน่าจดจำได้เหมือนกัน
             
             แต่สุดท้ายมันก็เป็นเพียงมุมมองหนึ่งจากดิฉัน ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นำคนในบางโอกาส ได้พูดก็มากหน่อย ที่สะสมประสบการณ์การพูดและการฟัง เอามาเขียนแบ่งปันให้หลายๆคนรู้กัน เห็นหลายๆคนยังตื่นเต้นที่ยืนหน้าห้องอยู่เลย อย่าตื่นเต้นครับ เวทีเป็นของเราแล้ว หน้าที่ของเราก็คือ ทำให้คนฟังจดจำใน แต่อยู่ที่ว่า เขาจะจดจำคุณในรูปแบบไหนเท่านั้นเอง

*อ้างอิง :: nearonline.net
*หมายเหตุ :: ไม่มีการเรียนการสอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น